Anantasook.Com

[เที่ยวสุรินทร์] รวมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสุรินทร์ แผนที่การเดินทางมายังจังหวัดสุรินทร์ เที่ยวเมืองสุรินทร์

chang-food-tableสุรินทร์ เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 457 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง ส่วนทางรถไฟห่างประมาณ 420 กิโลเมตร ใช้เวลา 7-9 ชั่วโมง แล้วแต่ขบวนทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ สามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง ได้แก่
1. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี จนถึงนครราชสีมา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 224 นครราชสีมา-โชคชัย พอถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) เมื่อถึงสี่แยกอำเภอปราสาท เลี้ยวซ้ายใช้เส้นทางหมายเลข 214 เข้าสู่ตัวจังหวัดสุรินทร์
2. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ สระบุรี นครราชสีมา ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 226 จนถึงตัวจังหวัดสุรินทร์

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสุรินทร์ มีดังนี้
1. หมู่บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม เป็นหมู่บ้านชาวกูยเก่าแก่ที่เลี้ยงช้างมานานหลายร้อยปี ปัจจุบันมีการฝึกช้างที่ศูนย์คชศึกษา ภายในศูนย์มีนิทรรศการประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการคล้องช้าง โดยเฉพาะทุกวันเสาร์เวลา 9.00 น.-11.00 น.จะมีการแสดงการฝึกช้างให้ชมเป็นประจำ

2. ถิ่นผ้าไหมบ้านจันรม บ้านเขวาสินรินทร์ ผ้าไหมที่นี่มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ลายดอก ลายขัด มัดหมี่ จึงไม่เหมือนใคร มีความนุ่ม และเงางาม

3. อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนสุรินทร์และใกล้เคียง เพื่อมานั่งรับประทานอาหาร ชมบรรยากาศพระอาทิตย์ตกดิน รอบๆอ่างเก็บน้ำจะมีนักตกปลามาตกปลาอยู่เป็นประจำ ทางตอนใต้จะมีนกน้ำและนกอพยพมาอาศัยอยู่หลายชนิด

4. ตลาดชายแดนช่องจอม ในอดีตชาวกูยใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางข้ามไปยังกัมพูชาเพื่อคล้องช้าง ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นตลาดการค้าชายแดน สินค้าที่โดดเด่นคือ มีเครื่องจักสานจากหวาย เครื่องไม้ ตลาดจะเปิดทำการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 08.30 – 16.00 น. การข้ามไปในเขตกัมพูชาสามารถทำได้ง่ายเพียงแจ้งชื่อ ที่อยู่และจำนวนคนให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทราบ

5. วนอุทยานป่าสนหนองคู มีเนื้อที่ 625 ไร่ ทางกรมป่าไม้จัดการสำรวจและตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ป่าสนสองใบ ทางวนอุทยานได้จัดทำเส้นทางเดินชมธรรมชาติพร้อมกับที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจไว้ ทั้งยังได้ทำการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมอีกด้วย

6. วนอุทยานพนมสวาย เป็นวนอุทยานที่อยู่ใกล้ตัวจังหวัดมากที่สุด มีลักษณะเป็นภูเขาเตี้ยๆปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณ ในอดีตเป็นสถานที่สำหรับแสวงบุญ มีประเพณีเดินขึ้นเขาในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 หน้าที่ทำการอุทยานมีบึงน้ำหลายแห่ง พร้อมทั้งเส้นทางเดินชมธรรมชาติสั้นๆ บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของวัดพนมสวายและประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล

7. ปรามาทเมืองที เป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง มีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน ปัจจุบันเหลือเพียง 3 หลัง ยังปรากฏร่องรอยว่าเป็นปราสาทรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง

8. ปราสาทจอมพระ เป็นอโรคยาศาลที่มีลักษณะสมบูรณ์มาก อาคารก่อด้วยศิลาแลงใช้หินทรายประกอบ มีการขุดพบวัตถุโบราณเป็นเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหนึ่งเศียรและรูปพระวัชรสัตว์หนึ่งองค์ มีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบบายนที่รุ่งเรืองสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

9. ปราสาทศรีขรภูมิ ชาวบ้านเรียก ปราสาทระแงง ประกอบด้วยอิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีคูน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้าน เป็นการผสมผสานของศิลปขอมแบบบาปวนกับแบบนครวัด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะและต่อมาได้รับการดัดแปลงให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา

10. ปราสาทยายเหงา เป็นศิลปะแบบขอมที่ประกอบเป็นปรางค์ 3 องค์ ปัจจุบันเหลือ เพียง 2 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ มีลวดลายนาคห้าเศียรปรากฏบนบนชิ้นส่วนกลีบขนุน เป็นลักษณะแบบนครวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18

11. ปราสาทภูมิโปน เป็นหลักฐานสำคัญของสิ่งก่อสร้างตอนต้นสมัยเมืองพระนครได้ อย่างดี ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย นับเป็นปราสาท แบบศิลปะขอมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

12. ปราสาทบ้านไพล มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยอิฐขัดมันตั้งเรียงกันเป็นแนวเดียวมีคูน้ำล้อมรอบ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16

13. ปราสาทบ้านพลวง เป็นปราสาทหิน ลักษณะลวดลายเป็นศิลปะขอมแบบบาปวน ปราสาทแห่งนี้ได้รับการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 ด้วยวิธีอนัสติโลซิส คือการรื้อตัวของปราสาทลงมา แล้วเสริมความมั่นคงก่อนประกอบขึ้นใหม่ดังเดิม บริเวณที่น่าชมที่สุดคือบริเวณหน้าบันและทับหลังที่สลักเป็นรูปพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะและสลักเป็นสัตว์ตัวเล็กๆบนผนังด้านหน้ามีรูปทวารบาลยืนคุมกระบองอยู่ข้างละ 1 คน

14. กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ประชิดชายแดนไทย-กัมพูชา ควรเข้าชมปราสาทด้านในสุดก่อนคือปราสาทตาเมือนธมซึ่งเป็นศาสนสถานก่อน ตั้งอยู่บนเส้นทางที่เชื่อมระหว่างนครวัด นครธมกับปราสาทหินพิมาย ซ่อนตัวอยู่ในหมู่ไม้ใหญ่ แล้วย้อนชมออกมาอีก 2 ปราสาทตามระยะทางคือปราสาทตาเมือนโต๊จอันเป็นอโรคยาศาลและปราสาทตาเมือน

หมายเหตุ : เนื้อหานี้จัดทำเพื่อประกอบการอธิบายเส้นทางการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบการเรียน ป.บัณฑิตวิชาชีพครู วิชาเทคโนโลยีการสอน ของนายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข

Exit mobile version