1. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 17 ปี
2. เป็นลูกเสือเอก
3. เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลาย
ในภาพ : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงฉลองพระองค์ยุวชนทหาร พระราชทานธงประจำกองยุวชนนายทหาร เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ.1939)
บทบาทสำคัญของยุวชนทหาร
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ.1941) กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก ทางด้านจังหวัดพิบูลสงคราม (ดินแดนที่ไทยยึดจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2484 ช่วงสงครามอินโดจีน ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยต้องส่งคืนกลับไปให้ฝรั่งเศส) และจังหวัดต่าง ๆ ตามชายฝั่งอ่าวไทย 7 จังหวัดภาคใต้คือ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี เพื่อขอผ่านไปตีพม่าและมลายูของอังกฤษ จนเกิดปะทะกับ ทหาร ตำรวจและยุวชนทหารไทย ซึ่งได้ต่อสู้อย่างดุเดือด ในที่สุดรัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศอนุญาตให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศได้
โดยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ประมาณ 2 ปี การฝึกยุวชนทหารได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2490 อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นในด้านการเตรียมกำลังสำรองสำหรับประเทศยังคงมีอยู่ จึงได้มีการจัดตั้งกรมการรักษาดินแดนในปี พ.ศ. 2491 เพื่อผลิตทหารเป็นกำลังสำรองทดแทนยุวชนทหารสืบต่อมา โดยมีชื่อเรียกกำลังสำรองดังกล่าวว่า “นักศึกษาวิชาทหาร” (นศท.) หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “รด.” (รักษาดินแดน) ซึ่งมาจากการย่อชื่อของ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
ปี พ.ศ. 2542 : ทบ. อนุมัติให้วันที่ 8 ธันวาคม เป็นวัน “นักศึกษาวิชาทหาร” กรมการรักษาดินแดน หรือ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ได้ขออนุมัติไปยังกองทัพบก เพื่อกำหนดให้เป็นวันสำคัญสำหรับนักศึกษาวิชาทหาร และเพื่อเป็นการรำลึกถึงความกล้าหาญของเหล่าเยาวชนผู้กล้า ทางกองทัพบกได้ให้ความเห็นชอบ และอนุมัติให้ถือเอาวันที่ 8 ธันวาคม เป็น “วันนักศึกษาวิชาทหาร” โดยมีการมอบหมายให้หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนเป็นหน่วยรับผิดชอบในส่วนกลาง สำหรับในส่วนภูมิภาคจะมอบให้ศูนย์การฝึกหรือหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑลทหารบกเป็นผู้รับผิดชอบ และให้นักศึกษาวิชาทหารทุกคนประกอบพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตน รวมถึงมีการสวนสนามพร้อมกันทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี