ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่า ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับ อาทิเช่น
– เป็นสัตว์คู่บารมีขององค์พระมหากษัตริย์ ช้างเผือกได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า โดย “พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ” เป็นพระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า
“พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนามนาคบารมี
ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์
สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์
รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้าฯ”
– สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็นรูปช้างเผือก
– สมัยพระนเรศวรมหาราช ทรงชนะการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แห่งหงสาวดี โดยช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรนับว่าเป็นช้างไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด ได้รับพระราชทานยศให้เป็นถึง “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี”
– ช้าง คือ พาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) มาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
– งานพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคลหรืองานพระราชทาน งานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะหรือประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบพระเกียรติยศ
-ใช้ในการคมนาคมและการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในอดีต
กิจกรรมวันช้างไทย
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม : ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ช้างสุรินทร์
1. คลิกอ่าน >> [ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง “สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่”]
2. คลิกดาวน์โหลด บทเรียนเรื่อง ช้างสุรินทร์ (ฉบับย่อ) >> [บทเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอำเภอโนนนารายณ์]