ระบบตกซ้ำชั้น การแก้ปัญหาที่ไม่ตอบโจทย์ผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนซ้ำชั้นดีจริงไหม ?

               การที่มีคนเห็นต่าง ทั้งสนับสนุนและไม่เห็นด้วยเรื่อง ระบบตกซ้ำชั้นของนักเรียน นั้น ที่จริง มีความเชื่อกันคนละอย่าง กลุ่มที่เชื่อเรื่อง ต้องซ้ำชั้น เพราะ เชื่อว่า “การเรียน จะได้ผลดี เด็กต้องพร้อม นักเรียนไม่พร้อมให้เรียนไปก็เสียเวลา เรียนไม่รู้เรื่อง ปล่อยให้ผ่านไป จะเป็นการทำร้ายเด็กในระยะยาว” และ “การเรียนที่สูงกว่าทักษะ ความรู้ของเด็ก เป็นการสร้างสถานะปลอมให้แก่เด็ก” คือ เด็ก ไม่ได้เก่งจริง ไม่รู้เรื่อง แต่เรียนๆ หลบๆ ก็จบเหมือนกัน แต่ไม่มีความรู้ อย่างที่ควรจะเป็น 
               อีกกลุ่มที่เห็นต่างว่า การซ้ำชั้นทำให้เกิดผลเสีย คือ  “การให้เด็กที่เรียนอ่อนซ้ำชั้น ไม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น เด็กอาจได้ผลการเรียนในปีนั้นดีขึ้นจากผลที่ถูกให้เรียนซ้ำ แต่ในระยะยาวเด็กก็ยังคงเป็นเด็กเรียนอ่อนเช่นเดิม และมีผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ และความสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เช่น รู้สึกว่าเป็นการลงโทษ และเป็นตราบาปทางสังคม ทำให้เด็กเกิดความเครียด หมดความนับถือในตัวเอง จนอาจนำไปสู่ การลาออกจาก รร.ไปเรียนที่อื่น หรือเด็กบางรายก็เลิกเรียนกลางคัน เพราะรู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า (พี่ลาเต้ ; จากเว็บเด็กดีดอทคอม อ้างอิงว่าเป็นผลวิจัยจาก UNESCO)
                สมัยที่ผู้เขียน เรียนอยู่ชั้นประถม มีรุ่นพี่ต้องซ้ำชั้นคนหนึ่ง พวกเราก็มักจะพูดล้อเลียน ว่า “เขาไม่เก่ง เขา… เขา … ” ดังนั้น หนึ่งปีที่ต้องซ้ำชั้น เขาอาจเก่งขึ้นเล็กน้อย แต่ผลเสียทางจิตใจ ฝังลึกยาวนาน  โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยในหลักการของทั้งสองแนวคิด แต่มีภาพหนึ่งอยากให้ผู้อ่านได้พิจารณา “เพื่อความเป็นธรรม เราจะให้ทุกท่านสอบข้อสอบเหมือนกัน โจทย์ก็คือ ให้ปีนต้นไม้ต้นนี้” ก่อนเชื่อมั่น “ในระบบเกรดและการให้ผลการเรียน” มากกว่า “คุณค่า ความดีงาม ความเชื่อมั่น ความภูมิใจในตัวของนักเรียน” 

education-system

               ที่มา : ผู้เขียนบันทึกภาพนี้ไว้นานแล้ว ยังหาที่มาภาพไม่ได้ หากพบที่มา จะอ้างอิงภายหลัง

                ลองใจเย็นลองมองไปที่ผลผลิต หลังจบการศึกษาและมีงานทำ คนเรียนเก่งจบสูง กับคนเรียนไม่เก่ง หรือเป็นเด็กปึก เรียนไม่รู้เรื่อง แต่มีทักษะการคิด การเอาตัวรอด ทำมาค้าขาย ใช้แรงงาน ถามว่า “ใคร พัฒนาชาติ มากกว่ากันคำตอบคือ ทุกคนพัฒนาชาติเหมือนกัน ตามความถนัด ตามศักยภาพของตนเอง ระดับสติปัญญาของคนมีหลายระดับ คนโคตรเก่ง ก็จัดการศึกษา โคตรพิเศษ คนกลางๆ ก็จัดกันไป คนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือทำไม่ผ่าน ต้องประเมินตามสภาพจริง หรือไม่ก็ต้องหานวัตกรรมมาแก้ การ”ซ้ำชั้น ขัง-กัน” ไว้ จึงเป็นนวัตกรรมที่น่าจะมีผลเสียต่อผู้ถูกกระทำมากกว่าผลดี คิดในฐานะหัวอก “ผู้ปกครอง” ถ้าลูกของผม” อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” ผู้ที่จัดการศึกษา ต้องหาวิธีการแก้ ไม่ใช่ แก้โดยให้ซ้ำชั้น (ยกเว้น กรณีที่มีความบกพร่องทางสิตปัญญาอย่างรุนแรง) และอีกอย่าง การให้ตกซ้ำชั้น สุดท้าย หวยจะออกกับคนยากไร้ ที่ไม่มีปากมีเสียง แน่ๆ  หรือจะกล้าให้ลูกนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล ซ้ำชั้น ???
                แล้วจะทำอย่างไร ปัญหาที่แท้จริงของเรื่องนี้ มีต้นตอมาจากเรื่องการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” ของนักเรียน เพราะส่งผลต่อการเรียนรู้ตามวัย ของนักเรียน ที่เมื่ออ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะทำให้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เรียนไม่รู้เรื่องไปเรื่อยๆ จนจบการศึกษาภาคบังคับ การแก้ปัญหาควรต้องมาที่จุดเริ่มต้น คนที่จะช่วยเรื่องนี้ได้ คือ ผู้ปกครองของเด็กครับ ผู้ปกครองที่มีลูกใหม่ๆ จะรัก ดูแลเอาใจใส่ลูกของตนเองดีมาก เห็นพัฒนาการทางสติปัญญาของลูกเป็นเรื่องน่ารัก น่าพอใจ ผู้ปกครองหลายคน แชร์ภาพลูก เขียนได้ คัดเลขได้ เขียนชื่อได้ทางสื่อ social media มากมาย ดังนั้น ควรทำเรื่องนี้ ให้เป็นโอกาส พัฒนาประชากรวัยเด็กของประเทศ … ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก … ทำให้เด็กเขียนได้ … เขียนเส้นได้ … ออกเสียง…คิดเลข…ฝึกกล้ามเนื้อมือให้คล่องแคล่ว ก่อนเข้า ป.1 ไปเลยน่าจะดีกว่า ส่วนเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้ดูแลหรือดูแลไม่ทั่วถึง ครูในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน น่าจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ 

คลิกชมข่าว เรื่องเล่าเช้านี้ : จาตุรนต์เล็งทบทวนนำระบบตกซ้ำชั้นมาใช้ : http://morning-news.bectero.com/post.php?pml=1798
ขอบคุณ ความเห็นพี่ลาเต้ : เว็บเด็กดีดอทคอม 



Leave a Comment