Anantasook.Com

เทคนิคการถ่ายทำหนังสั้น จากหนังสั้นเรื่องแรก ของทีมครูสร้างคน มรดกศิลป์ถิ่นอีสานใต้ ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์

หนังสั้น เรื่อง “ครูปลูกปัญญา” โดยทีม “ครูสร้างคน” ประกวดตามโครงการประกวดหนังสั้น ในหัวข้อ “ตามรอยมรดกศิลป์ถิ่นอีสานใต้” ของสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา : หนังสั้นเรื่องแรก ของครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข (อบรมเข้มสองวัน ก็ลงมือทำกันเลย ฝีมืออาจจะยังไม่ถึงขั้น ติชมกันได้นะครับ)

กล้องวิดีโอที่ใช้สำหรับการทำหนังสั้นครั้งนี้  เป็นแบบ Handycam (กล้องขนาดเล็ก)  ของ SONY ที่บันทึกข้อมูลในรูปแบบ Memory card ครับ ขอแนะนำเทคนิคการถ่ายทำหนังสั้นด้วยกล้อง Handycam คร่าวๆ ดังนี้
     1. ไม่ถ่ายแช่นานเกินไป แต่ถ้าเหตุการณ์นั้นยังไม่สิ้นสุด อย่าหยุดถ่ายกลางคันถ่ายไปเรื่อยๆ เพราะเราสามารถตัดออกได้
     2. ไม่ยกกล้องไปมาแทนสายตา ยกเว้น ต้องการสื่อว่า  กล้องคือตาของผู้ชมหรือของตัวละคร (ในช่วงท้ายจะมีการใช้เทคนิคนี้)
     3. ไม่ Zoom หรือ Pan ขณะถ่าย บ่อยเกินไปและมือต้องนิ่ง (มีหลายจุดที่มือของผู้บันทึกไม่นิ่ง เช่น ตอนต้นของเรื่อง)
     4. หาจุดจบที่ทำให้สนใจ และพยายามมองหาจุดที่น่าสนใจรอบๆตัวเพื่อจะได้ไม่พลาดเหตุการณ์สำคัญ
     5. ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายทำ ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง ต้องจับกล้องด้วยสองมือ เอากล้องมาชิดที่หน้าท้องหรือช่วงอก  จากนั้นบิดจอ LCD ขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อให้มองเห็นจอภาพถนัดๆ และจะต้องหายใจเบาๆ ขณะที่ทำการบันทึก
6. ฉากที่ถ่ายทำขณะขี่มอเตอร์ไซด์ ผู้บันทึกภาพจะขี่มอเตอร์ไซด์อีกคันหนึ่ง (ฉากขี่จักรยาน ผู้ถือกล้องบันทึกภาพ ก็ขี่จักรยานเช่นเดียวกัน)

โปรแกรม ที่จะนำมาใช้ในการตัดต่อหนังสั้น สำหรับหนังสั้นเรื่อง ครูปลูกปัญญา โปรแกรมตัดต่อหนังสั้น ที่ใช้คือ โปรแกรม Sony vegas 7.0 ครับ การทำงานค่อนข้างละเอียด มีลูกเล่นเยอะมากมาย ส่วนอีกโปรแกรมที่น่าสนใจ คือ adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆ ใช้งานยาก แต่ถ้าใช้เป็น ก็สามารถสร้างหนังเรื่องใหญ่ได้ทีเดียว แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่ การเริ่มต้นกับ Sony vegas 7.0 ก็เหมาะสมดี

ชมผลงานหนังสั้นของนักเรียน ประเภทสารคดีกึ่งละคร เรื่อง รอยขอม คลิกชมที่นี่ >> [ขั้นตอนการทำหนังสั้นและหนังสั้น เรื่อง รอยขอม]

Exit mobile version