วันที่ -150 (24 ตุลาคม 2556) ของการศึกษาและวิจัยที่ TEMS Education Research Center, Waikato University, New Zealand ธารทิพย์, น้ำค้าง, จิรัฐิติกาล และศักดิ์อนันต์ จากประเทศไทย ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม The Power of a Simple Gift with Operation Christmas Child เพื่อส่งมอบของขวัญนี้ ไปให้กับเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุราว 5-9 ปี ครับ
กิจกรรมนี้ เป็น โครงการของ samaritan’s purse เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ของกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ ที่ใช้โอกาสวันคริสต์มาส ของทุกปี ส่งมอบของขวัญให้กับเด็กที่ด้อยโอกาส เด็กที่ไม่เคยได้รับของขวัญมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก โดยกล่องของขวัญหรือ Shoe Box กว่าร้อยล้านชิ้น จากคนใจบุญ จะถูกส่งไปยังสำนักงานใหญ่ภายในเดือนตุลาคม ดังนั้น เดือนตุลาคม ของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จึงถือได้ว่าเป็นเดือนแห่งการรวบรวม Shoe box
ขั้นตอนของการส่งต่อ กล่องแห่งความรักและความสุข Shoe Box
1. เลือกขนาดกล่องของขวัญ โดยมีขนาดเท่ากับกล่องใส่รองเท้าขนาดกลาง (shoe box) (กว้าง 210 mm x ยาว 297 mm และสูง 110 mm) ทั้งนี้ ปกติ ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้จัดทำกล่อง shoe box (ดังที่แสดงในภาพ) ไว้สำหรับใส่ของขวัญเรียบร้อยแล้ว
2. กำหนดเพศ และช่วงอายุผู้รับของขวัญ ว่าเหมาะที่จะมอบให้เด็กผู้หญิง หรือ เด็กผู้ชาย ช่วงอายุเท่าไร โดยมีการกำหนดช่วงอายุไว้ 3 ระดับ ได้แก่ 2-4 ปี, 5-9 ปี, 10-14 ปี โดยเราต้องติดสติกเกอร์ลงด้านบนของกล่อง รวมถึงอาจมี ข้อความพิเศษเป็นเหมือนการ์ดอวยพรปีใหม่ ส่งถึงเด็กๆ ใส่ไว้ในกล่องด้วย
3. ใส่ของขวัญ ที่เหมาะสมกับเพศและช่วงอายุที่เราเลือก โดยของที่ใส่ในกล่อง ต้องได้กำหนดของที่สามารถใส่ในกล่อง และห้ามใส่ในกล่อง ดังนี้
ตัวอย่างของที่สามารถใส่ในกล่องได้ ได้แก่
– ของที่สามารถสวมใส่ได้ เช่น เสื้อ ผ้า กระโปรง กางเกง หมวก เป็นต้น
– ของที่น่ารักและแสดงถึงความรัก เช่น ตุ๊กตา ของเล่นต่างๆ เป็นต้น
– ของที่พิเศษ เช่น สร้อย กำไลข้อมือ ข้อเท้า สมุดโน๊ต แว่นตากันแดด กระเป๋า รูปภาพสวยๆ เป็นต้น
– ของที่ใช้ในโรงเรียน เช่น หนังสือ ปากกา ดินสอ ยางลบ อุปกรณ์การเรียน เป็นต้น
– ของที่เล่นได้ เช่น ลูกบอล เครื่องดนตรีเล็กๆ รถของเล่น ตุ๊กตา เป็นต้น
– ของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ก้อน แป้ง แปรงสีฟัน หวี เป็นต้น
ตัวอย่างของที่ห้ามใส่ในกล่อง ได้แก่
– ของที่มีส่วนประกอบเป็นของเหลว เช่น ยาสีฟัน ยาสระผม รวมถึงของที่มีส่วนผสมของยีสต์ น้ำมัน เนย น้ำตาล และของเล่นที่มีแบตเตอรี
– ของที่เป็นอาหารทุกชนิด รวมถึงยารักษาโรคต่างๆ
– ของที่ใช้แล้วและเป็นอันตราย เช่น เสื้อผ้าเก่า หรือของเล่นที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว
– ของที่แตกหักได้ เช่น แก้ว หรือ กระจก
– ของที่ส่งเสริมความรุนแรง เช่น มีด ปืน หรือ ของเล่น เกี่ยวกับสงคราม
– ของที่ส่งเสริมการพนันและเกี่ยวกับการจ่ายเงิน เช่น ไพ่ และเกมโดมิโน (domino)
– ของทุกอย่างที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา และอุดมการณ์ทางการเมือง
5. ปิดกล่องและใช้ยางยืดรัดไว้ ก่อนจัดใส่ไปยังสำนักงานใหญ่ เพื่อดำเนินการตรวจสอบสิ่งของ และปิดผนึก ก่อนจัดส่งไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก
ข้อสังเกตสำหรับประเทศไทย ไม่แน่ใจว่า มีองค์กรใดดำเนินการหรือไม่ แต่ Mr. ANANTASOOK คิดว่า แนวคิด การส่งมอบของขวัญ ไปให้เด็กที่ด้อยโอกาส เด็กที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเลย นั้นเป็นแนวคิดที่น่าสนใจทีเดียว ผมคิดเล่นๆ ว่า ต่างประเทศเขามี Shoe Box เมืองไทย ก็น่าจะมี Sook Box หรือ Happy Box ไว้ส่งต่อโอกาส รอยยิ้ม และความสุขให้กับเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กที่ด้อยโอกาส เด็กที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา ในวันเด็กของทุกปี ก็น่าจะดี องค์กรทางธุรกิจที่มีกำไรมากๆ ถ้าสนใจทำกิจการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) แนวคิดนี้ น่าสนใจ ครับ
ชมคลิปกิจกรรม The Power of a Simple Gift with Operation Christmas Child
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ ของ Samaritan’s Purse, International Relief
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.samaritanspurse.com.
ประเทศออสเตรเลีย : http://www.samaritanspurse.com.au และ http://operationchristmaschild.org.au
ประเทศนิวซีแลนด์ : http://operationchristmaschild.org.nz