[จภ.บร.] ผลงานนักเรียน คุณครูและผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (14 มิถุนายน 2565-ปัจจุบัน)

ก.ผลงานนักเรียน (ชนะเลิศระดับประเทศและระดับนานาชาติ) [ผลงานนักเรียนทั้งหมดชมที่นี่ >> [รางวัลนักเรียน จ.ภ. บุรีรัมย์]]

13-16 กันยายน 2565 : รางวัล 5 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง ในการนําเสนอโครงงานนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ครั้งที่ 2 ประจําปีการศึกษา 2565 The 2nd PCSHS Science Symposium 2022 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

12 ตุลาคม 2565 : เด็กหญิงณัฎฐพัชร์ นะพรรัมย์ ได้รับทุนศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ประเทศญี่ปุ่น ประจำปีการศึกษา 2566 รับทุนศึกษาต่อ 7 ปี

21-23 ธันวาคม 2565 : นายสิรวิชญ์ บุญเศษ จากทีม Za Boizu นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมโล่รางวัล ในการแข่งขัน Thailand-Japan Game Pogamming Hackathon 2022 รอบชิงชนะเลิศ ในงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ไอซีทีของนักเรียนไทยและนักเรียนญี่ปุ่น Thailand-Japan Student ICT Fair 2022 (TJ-SIF2022) ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

2 มีนาคม 2566 : นักเรียน 3 รายได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกวิจัยระยะสั้น ณ ห้องปฏิบัติการวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ สวทช. ภาคฤดูร้อน ปี 2566 ในระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 3 พฤษภาคม 2566 (นายยุติพงษ์ คำบอน, นายภูเบศ ศรีคุณ, นางสาวธัญยธรณ์ มงคลไชยวัฒน์)

8 มีนาคม 2566 : นางสาวรุจรดา เหล่าฤทธิ์ นักเรียนชั้น ม. 6/1 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีชื่อในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง กระบวนการรวมผลคะแนนการประเมินการยศาสตร์ด้วยการปรับสเกลการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก  โดยมีนักวิจัยพี่เลี้ยง ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

7 เมษายน 2566 : นางสาวอาจารีย์ นครังสุ ผ่านการคัดเลือกเป็นผู้แทนศูนย์ ฯ เพื่อเข้าร่วมโครงการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 5 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม 2566

6-10 พฤษภาคม 2566 : นายสาริศ บุญเฟรือง ผ่านการคัดเลือกเป็นผู้แทนศูนย์ สอวน. มหาวิทยาลัยเทคโนโสยีสุรนารี เข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 22 และได้รับเลือกเป็นเยาวชนวิทยาศาสตร์ดีเด่น (ฟิสิกส์) ประจำปี 2566 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์

11-13 พฤษภาคม 2566 : นายสาริศ บุญเฟรือง ได้รับรางวัลเหรียญเงิน สาขา Industrial Design การประกวดและแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม รายการ World Young Inventors Exhibition (WYIE) ในเวที “The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition” (ITEX 2023) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย และได้รับรางวัลพิเศษ Excellent Inventions มอบโดย VIFOTEC จากเวียตนาม มีผู้เข้าร่วมแสดงผลงาน 19 ประเทศ (ครูที่ปรึกษา : นายสกลเกียรติ ขันทอง) 

4 กันยายน 2566 : สภานักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ การประกวดการจัดกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) โครงการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเครือข่ายนักประชาธิปไตยวุฒิสภาฯ ประจำปี 2566 รับรางวัลจากนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา (ครูที่ปรึกษา : นายกิตติพิชญ์ วรโชติสุพัฒภาคิน) 

15 กันยายน 2566 : จำนวนนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าอบรมในโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ (สอวน.) ปีการศึกษา 2566 ค่าย 1 จำนวน 18 คน (ชีววิทยา 1 คน/ คณิตศาสตร์ 3 คน/ คอมพิวเตอร์ 2 คน/ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ 2 คน/ เคมี 3 คน/ ฟิสิกส์ 7 คน)

19 กันยายน 2566 : ผลงานนักเรียน 3 ทีมกับ 4 รางวัล ในงาน The 10th International Young Inventor Awards (IYIA2023) ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเชีย จำนวนประเทศเข้าร่วม 33 ประเทศ (1) Special Award และ Silver Award จากผลงานเรื่อง Development of a rubber density analyzer โดยนักเรียน Mr.Thanyathon Dulyapaween และ Mr.Natapol Bubpan ครูที่ปรึกษา ได้แก่ Ms.Watcharaporn Saenna, Ms.Rawiwan Gongmas, Dr.Supachai Ritcharoenwattu (2) Gold Award จากผลงานเรื่อง Development of Fruit Coating from Caraway for Inhibiting the Growth of Colletotrichum spp. and Antioxidant Properties in Golden Nam Dok Mai Mango Fruit โดยนักเรียน Miss Phenphitcha Thasimma, Miss Siriganya Panyadee, ครูที่ปรึกษา ได้แก่ Miss Piyaporn Yotasook, Miss Sreewikan Krumram (3) Gold Award จากผลงานเรื่อง Flexible and absorbs moisture composite insole with shell sponge from grapefruit mixed with latex and silica โดยนักเรียน Ms. Thanyatorn Mongkhonchaiwatn, Ms. Phitchaphon Bamrungtham ครูที่ปรึกษา ได้แก่ Ms.Watcharaporn Saenna

13 กุมภาพันธ์ 2567 : ครูและนักเรียนได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการประชุม 13th  Regional Congress Search for SEAMEO Young Scientists ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของ ซีมีโอ Regional Center for Education in Science and Mathematics: SEAME ระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2567 ณ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ; ผลงานเรื่อง  Study of the effectiveness of chitosan and tamarind Gum film wound dressings containing extracts from pomegranate peel (Punica granatumand) and phlai rhizome (Zingiber montanum) to inhibit staphylococcus aureus cause infected wound.; ผู้พัฒนาผลงาน : นายนฤเบศ  บุญครอง 5/3 และนางสาวอนันดา  มันปาฏิ 5/3; ครูที่ปรึกษา : นางรพีพร  ตะเคียนราม

30 มีนาคม 2457 : นักเรียน (นายพีรพัฒน์ สังข์ลาย, เด็กหญิงชญานิศ สถิตอินทาพร) ได้รับรางวัลเหรียญเงินระดับประเทศ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านธรรมชาติวิทยาระดับประเทศ ประจำปี 2567 ผลงานเรื่อง การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์หน้าดินและสัตว์ใต้ดิน เพื่อเป็นแนวทางอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในการเกษตรแบบอินทรีย์ จัดโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครูที่ปรึกษา : นางสาววัชราภรณ์ แสนนา

ข.ผลงานครูและบุคลากรทางการศึกษา

2 กันยายน 2565 : นางสาวสมพิศ ผาดไธสง รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รางวัลรองผู้อำนวยการสถานศึกษาดีเด่น จาก สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย 

22 เมษายน 2566 : นายฉัตรชัย วิชัยผิน รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รางวัลรองผู้อำนวยการสถานศึกษาดีเด่น จาก สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย 

28 สิงหาคม 2566 : นางสาวสมพิศ  ผาดไธสง รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC Awards ระดับชาติ ครั้งที่ 11 รองผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง ด้านวิชาการ

15 กุมภาพันธ์ 2567 : นายอภิมุข  อภัยศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รางวัลรองผู้อำนวยการสถานศึกษาดีเด่น จาก สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย 

ค. ผลงานผู้บริหารสถานศึกษา

23 พฤษภาคม 2566 : ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและการเปิดชั้นเรียน (Buriram Open Class 2023) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2566 (นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข/ นางสาวสมพิศ ผาดไธสง/ นางสาวศศิวลัย บุลาลม)

4 สิงหาคม 2566 : ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและมีสมรรถนะภาษาต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Innovative Leader for SDGs) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อบรม 9-11 สิงหาคม 2566 โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น)

20 กุมภาพันธ์ 2567 : นายศักดิ์อนันต์   อนันตสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รางวัลกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดีเด่น จากสมาคมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย 

ง. ผลงานโรงเรียน

30 มิถุนายน 2566 : รางวัลหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม เหรียญเงิน ระดับภูมิภาค จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผลงานเรื่อง การเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ปัญหาและโครงงานเป็นฐาน (Project and Problem Base Inquiry Learning)

17 กันยายน 2566 : รางวัลโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

จ. การลงนามความร่วมมือ (MOU)

18 กันยายน 2565 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายวิชาการครู สควค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3 พฤศจิกายน 2565 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กับ สถาบันพระบรมราชชนก เรื่อง สนับสนุนการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 

1 ธันวาคม 2565 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง โครงการรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงด้านวิศวกรรมศาสตร์ 

28 มิถุนายน 2566 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กับ โรงเรียน Prek Leap High school และ โรงเรียน Chea Sim Sonthor Mok High school ราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง การพัฒนาการศึกษาและวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา 

18 ธันวาคม 2566 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กับ โรงเรียน Odate Homei Senior High school ประเทศญี่ปุ่น โดย ผอ. วาตานาเบะ มาซาโนริ (Mr.WATANABE Masanori) เรื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาไทย-ญี่ปุ่น 

30 สิงหาคม 2567 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการและโอกาสในการศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



Leave a Comment