1. กรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในการบูรณะ ตกแต่งแหล่งในโบราณสถาน โบราณวัตถุ ควรดําเนินการตาม พ.ร.บ.โบราณ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 308 เกี่ยวกับกรมศิลปากร (พ.ศ. 2515) และเรื่องกรมศิลปากรว่าด้วยการจัดผลประโยชน์และควบคุมสิ่งก่อสร้างในเขตโบราณ สถานของกรมศิลปากร พ.ศ. 2523 กล่าวคือ พื้นที่ใดมีการรุกล้ำแหล่งโบราณสถาน และโบราณวัตถุ หรือแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์อย่างเร่งด่วน
2. ควรให้มีการสํารวจแหล่งโบราณสถานทุกแห่งในจังหวัดสุรินทร์และจัดทําระเบียบ สิ่งแวดล้อมโบราณสถาน เรียงลําดับปัญหาแหล่งที่มีปัญหาเร่งด่วนตามลําดับ เสนอผู้เกี่ยวข้องจัดการ บูรณะทางหลักทางวิชาการแผนใหม่ และประสานความร่วมมือดูแลดังเช่นที่กรมศิลปากรดําเนินการ เช่น ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทยายเหงา ปราสาทศีขรภูมิ และปราสาทภูมิโปน เป็นต้น
3. หลักการอนุรักษ์ที่ดีที่สุดทางหนึ่ง คือ การอนุรักษ์โดยประชาชนในท้องถิ่นเอง เห็นความสําคัญในมรดกล้ำค่าของชุมชน ไม่ขุดค้น ไม่บุกรุกขุดทําลาย มุ่งประโยชน์ส่วนตน จึงควรจัด อบรมให้ความรู้แก่ชุมชนโดยรอบให้มีความเข้าใจละเกิดความตระหนักหวงแหนโบราณสถานท้องถิ่น
4. สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น และวัดในพระพุทธศาสนาที่อยู่ในแหล่งโบราณสถาน ควรมีบทบาทสําคัญในการดูแลในการศึกษาฝึกอบรมนักเรียนและชาวบ้าน ให้ความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นที่เกี่ยวเนื่องกันกับโบราณสถาน และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ สอนและส่วนของสังคมในท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อเยาวชนรุ่นต่อไป
5. ส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวแหล่งโบราณสถาน ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมให้สะดวก จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทางเอกสารและสื่อมวลชน โดยจัดทําข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน
6. จัดทําเอกสารเผยแพร่แหล่งโบราณสถานของจังหวัดสุรินทร์ เช่น จัดทําเอกสารเรื่อง ปราสาทเมืองสุรินทร์ ของดีเมืองสุรินทร์ เป็นต้น [คลิกชม >> : โปสเตอร์ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์]
7. ตั้งชมรมอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นในชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ โดยการประสาน งานของกรมศิลปากร ให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโบราณสถานทุกแห่งขึ้น โดยกําหนดขอบเขตการ อนุรักษ์ให้ชัดเจน กรมศิลปากรดูแลส่วนใด ประชาชน วัด ดูแลและอนุรักษ์อย่างไรและส่วนใดจึง จะทําให้โบราณสถานที่เป็นมรดกล้ำค่าของชาติคงสภาพที่ดีอยู่ตลอดไป
โครงการ 54090178 :: การศึกษาและพัฒนากระบวนการตัดสินใจของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคมวัฒนธรรม เรื่อง ปราสาท ในมิติวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดำเนินการโดย นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) :: www.QLF.or.th