ตารางที่ 1 การจัดการเรียนรู้เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006) สาระปรมาณูเพื่อสันติ
สาระ / เนื้อหา |
แผน |
ขั้นการสอน STS approach ของ Yuenyong (2006) |
เวลา (ชม.) |
1. ปรมาณู เพื่อสันติ – การค้นพบกัมมันตภาพรังสี – การเปลี่ยนสภาพนิวเคลียส – ไอโซโทป – ประโยชน์ของกัมมันตภาพรังสี |
1 |
1) ขั้นระบุประเด็นทางสังคม นักเรียนอ่านบทความและดูคลิปวีดิโอ เรื่อง รำลึกการทิ้งระเบิดปรมาณู และชี้ให้เห็นว่า แม้ปัจจุบันหลายประเทศจะมีระเบิดปรมาณู แต่ก็มีการทำสนธิสัญญาใช้พลังงานปรมาณูในทางสันติ รวมทั้งประเทศไทยด้วย และตั้งคำถามว่า “นักเรียนจะนำพลังงานปรมาณูไปใช้ในทางสันติ อย่างไร” 2) ขั้นระบุแนวทางการหาคำตอบอย่างมีศักยภาพ นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอวิธีนำพลังงานปรมาณูไปใช้ในทางสันติ ตามที่มีความสนใจ จากนั้นครูตั้งคำถามว่า “การจะตอบคำถามเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น เราต้องมีความรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง” เพื่อเป็นแนวทางในการหาความรู้ 3) ขั้นต้องการความรู้ ครูให้ความรู้เกี่ยวกับปรมาณูหรืออะตอม โครงสร้างของอะตอม แล้วหาจำนวนโปรตอน นิวตรอนและอิเล็กตรอนจากสัญลักษณ์ของนิวเคลียสของธาตุ และเรียนรู้ประวัติ การค้นพบการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสในอะตอมจนนำไปสู่การสร้างระเบิดปรมาณู >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ1_1] |
1 |
2 |
3) ขั้นต้องการความรู้ (ต่อ) นักเรียนเรียนรู้ความหมายของธาตุกัมมันตรังสีและกัมมันตภาพรังสี การเกิดและสมบัติของกัมมันตภาพรังสี จากไอโซโทปรังสี และทำกิจกรรมแบ่งกลุ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี และสรุปกิจกรรมด้วยคลิปวีดิโอเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ1_2] |
2 |
|
3 |
4) ขั้นทำการตัดสินใจ นักเรียนดูคลิปวิดีโอเรื่อง “สงครามนิวเคลียร์” ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อย้ำให้นักเรียนรู้สึกว่า ต้องนำไปใช้ในทางสันติเท่านั้น จากนั้นครูตั้งประเด็นว่า “นักเรียนจะนำพลังงานปรมาณู มาใช้ในทางสันติ เพื่อพัฒนาอำเภอโนนนารายณ์อย่างไร” เพื่อให้เสนอทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล 5) ขั้นกระบวนการทางสังคม นักเรียนนำเสนอผลการตัดสินใจของกลุ่มตนเอง ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง ผู้นำท้องถิ่นหรือชาวบ้านในอำเภอโนนนารายณ์ แล้วเขียนสะท้อนผลการเผยแพร่ผลการตัดสินใจ (ดำเนินการนอกเวลาเรียน) >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ1_3] |
1 |
ตารางที่ 2 การจัดการเรียนรู้เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006) สาระอยู่ปลอดภัยกับกัมมันตภาพรังสี
สาระ / เนื้อหา |
แผน |
ขั้นการสอน STS approach ของ Yuenyong (2006) |
เวลา (ชม.) |
2. อยู่ปลอดภัยกับกัมมันตภาพรังสี – การสลาย ของนิวเคลียสกัมมันตรังสี – การทดลองการอุปมาอุปมัยการทอดลูกเต๋ากับการสลายตัวของธาตุ กัมมันตรังสี – อันตรายจากกัมมันตภาพรังสีและการป้องกัน |
4 |
ครูกล่าวนำเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน ซึ่งถ้าผ่านเข้าไปในสิ่งมีชีวิต อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื้อเยื่อได้ และแนะนำให้รู้จักบริเวณที่มีกัมมันตภาพรังสีจากป้ายสัญลักษณ์ทรีฟอยล์ (Trefoil) 1) ขั้นระบุประเด็นทางสังคม นักเรียนอ่านข่าวเรื่อง มหันตภัยจากโคบอลต์ 60 เขียนและจัดกลุ่มคำถามเพื่อให้ได้ประเด็นว่า “นักเรียนจะจัดเก็บธาตุกัมมันตรังสีที่ใช้งานแล้วให้ปลอดภัยได้อย่างไร” 2) ขั้นระบุแนวทางการหาคำตอบอย่างมีศักยภาพ นักเรียนเสนอวิธีจัดเก็บธาตุกัมมันตรังสีที่ใช้งานแล้ว ให้ปลอดภัย ครูตั้งคำถามให้คิดและหาความรู้ต่อไปว่า “ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ การจัดเก็บ และประชาชนทั่วไป มีความปลอดภัยด้วย” 3) ขั้นต้องการความรู้ นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการสลายกัมมันตรังสีให้แอลฟา เบตา แกมมา และอนุกรมการสลายพร้อมทั้งหาสัญลักษณ์ของนิวเคลียสใหม่ที่เกิดขึ้น>> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ2_1] |
2 |
5 |
3) ขั้นต้องการความรู้ (ต่อ) นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับ ครึ่งชีวิต กฎการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี กัมมันตภาพและค่าคงที่ของการสลายตัว และแก้โจทย์ปัญหาตามที่กำหนดให้ >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ2_2] |
1 |
|
6 |
3) ขั้นต้องการความรู้ (ต่อ) นักเรียนทำการทดลองการอุปมาอุปมัยการทอดลูกเต๋ากับการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ2_3] |
2 |
|
7 |
4) ขั้นทำการตัดสินใจ ครูเสนอแนะกฎความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทางรังสี จากนั้นอ่านสถานการณ์เรื่อง “เหตุการณ์อุบัติเหตุทางรังสีที่สมุทรปราการ” ครูตั้งประเด็นว่า “นักเรียนจะประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันรังสีที่ดีและปลอดภัยมากที่สุด เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทำงานกับรังสีหรืออยู่กับรังสีอย่างมีความสุข ปลอดภัย ไร้กังวล ได้อย่างไร” 5) ขั้นกระบวนการทางสังคม นักเรียนนำเสนอผลการตัดสินใจ ต่อคณะผู้บริหารโรงเรียนและครู ได้แก่ รองผู้อำนวยการ ครูฟิสิกส์ ครูวิทยาศาสตร์ ครูสังคมศึกษา แล้วเขียนสะท้อนผลการเผยแพร่ผลการตัดสินใจ (ดำเนินการนอกเวลาเรียน) >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ2_4] |
1 |
ตารางที่ 3 การจัดการเรียนรู้เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006) สาระโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับประเทศไทย
สาระ / เนื้อหา |
แผน |
ขั้นการสอน STS approach ของ Yuenyong (2006) |
เวลา (ชม.) |
3. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับ ประเทศไทย – เสถียรภาพ ของนิวเคลียส – ปฏิกิริยานิวเคลียร์ – โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
|
8 |
1) ขั้นระบุประเด็นทางสังคม นักเรียนดูคลิปวีดิโอเรื่อง “อนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย” และอ่านข่าวเรื่อง “ทำไม? คนอีสานต้องค้านโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์” จากนั้นตั้งประเด็นว่า “ถ้ารัฐบาลอนุมัติให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในพื้นที่อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร” 2) ขั้นระบุแนวทางการหาคำตอบอย่างมีศักยภาพ นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็น จากนั้นให้เสนอข้อกังวลใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นักเรียนระดมความคิด เสนอวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่ได้รับมอบหมายเพื่อนำมาเสนอในชั้นเรียน 3) ขั้นต้องการความรู้ ครูให้ความรู้เกี่ยวกับ เสถียรภาพของนิวเคลียส แรงนิวเคลียร์ รัศมีของนิวเคลียส ความสัมพันธ์ระหว่างมวลและพลังงานของไอสไตน์ การหาพลังงานยึดเหนี่ยว และพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออน >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ3_1] |
2 |
9 |
3) ขั้นต้องการความรู้ (ต่อ) นักเรียนศึกษาวิธีเขียนสมการแสดงปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิกิริยาฟิชชันและปฏิกิริยาฟิวชัน และชี้ว่าปฏิกิริยาลูกโซ่จากฟิชชัน ทำให้เกิดพลังงานมหาศาล และควบคุมด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ3_2] |
1 |
|
10 |
3) ขั้นต้องการความรู้ (ต่อ) นักเรียนเสนอผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับข้อกังวลใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากนั้นเรียนรู้เรื่องเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4) ขั้นทำการตัดสินใจ นักเรียนได้รับข้อมูลเชิงบวกและเชิงลบเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อตัดสินใจ 2 ประเด็นคือ “ควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยหรือไม่” และ “การให้ทุนแก่ข้อเสนอโครงการวิจัยพลังงานทดแทน” 5) ขั้นกระบวนการทางสังคม นักเรียนนำผลการตัดสินใจไปตั้งกระทู้บนเว็บไซต์ www.krusmart.com เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลทั่วไปมาให้ข้อเสนอแนะ เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แล้วเขียนสะท้อนผลการเผยแพร่ผลการตัดสินใจ >> ดาวโหลดฟรีแผนการสอนฟิสิกส์ คลิก [แผนการสอน STS ฟิสิกส์นิวเคลียร์สาระ3_3] |
2 |
หมายเหตุ :: แนะนำเว็บไซต์เด็กฟิสิกส์ :: http://dekphysics.com/forum/index.php