การประเมินผล PISA ตัวอย่างข้อสอบ PISA ข้อมูล PISA ประเทศไทย PISA สอบอะไรบ้าง เตรียมสอบ PISA

PISA มาจากคำว่า Programme for International Student Assessment คือ โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ของประเทศสมาชิกองค์กรเพื่อ ความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจว่าระบบการศึกษาของประเทศได้เตรียมเยาวชนของชาติให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ความเป็นมาของการประเมินผล PISA
     – เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี   1999  (  พ.ศ. 2541 )
     – มีประเทศเข้าร่วมโครงการ   65  ประเทศ
     – ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการเมื่อ    ปี  2543
     – ประเทศเขตเศรษฐกิจเอเชียที่เข้าร่วม มีเกาหลี  จีน-ฮ่องกง  จีน-ไทเป  ญี่ปุ่น  สิงคโปร์  อินโดนีเซีย  ไทย และในปี พ.ศ. 2555  เพิ่มมาเลเซีย และเวียดนาม โดยในปี พ.ศ.  2555   จะเป็นการประเมินครั้งที่  5 โดยจะทำการประเมินในเดือนสิงหาคม 2555 การประเมินครั้งถัดไป คือ ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

จุดประสงค์ของการประเมิน PISA
     – หาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้แก่ประเทศสมาชิกและประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
     – ประเมินศักยภาพของนักเรียนที่มีอายุ  15  ปี ในการใช้ความรู้  ทักษะจำเป็น เพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงโดยทำการประเมินต่อเนื่องทุกๆ  3  ปี

ผู้รับการประเมิน PISA เป็นนักเรียนในระดับชั้นม.  3,  ม.4 ที่มีอายุ  15  ปี จาก
     —- โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
     —- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
     – โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
     – โรงเรียนในสังกัดสำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
     —- โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย
     —- วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

PISA ประเมินอะไรบ้าง
     PISA ประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า “Literacy” หรือ “การรู้”  3 ด้าน ได้แก่ ด้านการอ่าน (Reading  Literacy) ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematic Literacy) และด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific  Literacy)

การประเมินแบ่งเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะเน้นหนัก ดังนี้
     ระยะที่ 1 ( PISA  2000 /2009 ) เน้นการอ่าน  60% วิทยาศาสตร์  20 %คณิตศาสตร์  20%
     ระยะที่ 2 ( PISA 2003 / 2012 ) เน้นคณิตศาสตร์ 60% วิทยาศาสตร์ 20%  การอ่าน  20%
     ระยะที่ 3 ( PISA  2006 / 2015) เน้น วิทยาศาสตร์ 60% คณิตศาสตร์ 20%  การอ่าน 20%

ลักษณะการประเมินของPISA
     – ไม่ถามเนื้อหาสาระโดยตรงตามหลักสูตร
     —- เน้นวัดสมรรถนะ 3  ด้าน คือ  ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์  และด้านวิทยาศาสตร์ เน้นการคิดวิเคราะห์
     – เน้นการคิดและหาคำอธิบาย
     – มีทั้งรูปแบบเลือกตอบและแบบเขียนตอบ คำถามเป็นปลายเปิด  ซึ่งนักเรียนต้องสะท้อนความคิดของตนออกมาเป็นคำตอบ
     —- การให้คะแนนขึ้นกับเหตุผลของการตอบ  คำตอบต่างกัน  อาจได้คะแนนเต็ม เหมือนกันอยู่ที่เหตุผลที่สอดคล้องคำอธิบายสมเหตุสมผล

ตัวอย่างข้อสอบ PISA และข้อมูล PISA ประเทศไทย [เลื่อนอ่านได้เลยครับ]

PISA2015THAILAND from SAKANAN ANANTASOOKที่มา : เอกสารการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) 2015 และตัวอย่างข้อสอบ PISA จากสถาบันวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เว็บไซต์  OECD/PISA : [http://www.pisa.oecd.org]
เว็บไซต์สถาบันวิทยาศาสตร์ : ครูไทย หัวใจสืบเสาะ : [http://www.inquiringmind.in.th]
เรียบเรียงจาก : เว็บ สสวท. และ  http://addrachada.wordpress.com
ภาพประกอบจาก : http://www.eldiario24.com/uploads/editorial/2013/03/18/imagenes/8507_PISA-2015-237435_620.jpg


4 Comments

  1. JIRAWAN says:

    ขอบคุณสาระดีๆค่ะ อ่านแล้วได้สาระความรู้และเข้าใจมากกว่าการไปนั่งฟังคำบรรยายเสียอีก

Leave a Comment