บันทึก 13 วันที่ฟิลิปปินส์ การฝึกอบรมหลักสูตร ESL ของ ผอ. โรงเรียนไทย กับนักการศึกษาในกลุ่มสมาชิกอาเซียน

Sakanan Anantasook; School head from Thailand Report : บันทึกการเรียนรู้ 13 วัน ของศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ที่ฟิลิปปินส์ 

วันที่ 1 (19 มกราคม 2563) เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย เวลา 13.50 น. ด้วยสายการบิน Philippine Airlines PR731 ถึงสนามบินแห่งชาติปาไซ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เวลา 17.50 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) เวลาที่ฟิลิปปินส์เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่มารับเราที่สนามบิน เดินทางราว 45 นาที ถึงอาคารที่พักของ SEAMEO INNOTECH รับประทานอาหารเย็นและเข้าที่พัก

วันที่ 2 (20 มกราคม 2563)
ช่วงเช้า เป็นพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร Excellence in school Leadership โดย Dr. Ramon C. Bacani Director of SEAMEO INNOTECH, การบันทึกภาพร่วมกัน และการนำเสนอถึง “The Southeast Asia competency framework for school heads and teacher” โดย Dr.Sharon Joy Berlin-Chao (จาก Manager, Learning Management Office) โดยในส่วนของสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา (competency framework for school heads) มีองค์ประกอบดังนี้
-Strategic thinking & Innovation มี 3 องค์ประกอบ
-Managerial leadership มี 3 องค์ประกอบ
-instructional Leadership มี 4 องค์ประกอบ
-personal Excellenceมี 3 องค์ประกอบ
-stakeholder engagement มี 3 องค์ประกอบ
ในส่วนของครู มีองค์ประกอบ 4 ด้านเพื่อการเรียนรู้ที่มีความหมาย (Joyful Learner) ดังนี้
-Become a better teacher Everyday มี 3 องค์ประกอบ
-Know and understand what I teach มี 3 องค์ประกอบ
-Engage the community มี 3 องค์ประกอบ
-Help my student learn มี 3 องค์ประกอบ

ช่วงบ่าย เป็นการเรียน session1/7 Building on our leadership Stories วิทยากรให้เราจัดกลุ่มๆ ละ 3 คน โดยข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกลุ่มกับ ผอ. Yarann Khon ผอ.ประถมศึกษาจากราชอาณาจักรกัมพูชา และ ผอ. Renan T. Rivera ผอ. ประถมศึกษาจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เราได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวของแต่ละคนจาก a day in the live of a school head ที่เขียนก่อนเข้าร่วมอบรมที่ฟิลิปปินส์ จากนั้น ได้ช่วยกันสรุปถึง competency, skill, condition จากเรื่องเล่าของแต่ละคน และนำเสนอกันในชั้นเรียน เพื่อสรุปเชื่อมโยงถึง competency framework for school heads ที่ได้เรียนมา

ช่วงเย็น เราได้รับเงินค่าอาหารจากทีมวิทยากร 10,440 เปโซ และนำเราไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเมืองนี้ เพื่อรับประทานอาหารเย็นตามอิสระ คิดว่าขนาดน่าจะใหญ่ใกล้เคียงกับห้างโรบินสันที่ขอนแก่น แต่คนเยอะและพลุกพล่าน พยายามหาของที่ระลึกแต่ยังไม่มีของที่พึงพอใจ เดินทางกลับถึงที่พักราว 21.30 น.

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า การมีกรอบสมรรถนะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะต้องมีการกล่าวถึงและขับเคลื่อนอย่างจริงจังกันในประเทศไทย ข้าพเจ้าอยากเห็นการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาอย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยผู้บริหารสถานศึกษาเองก็พร้อมและเต็มใจที่จะเข้าร่วมและจริงจังในการพัฒนาตนเอง

วันที่ 3 (21 มกราคม 2563) :
วันนี้อบรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง My school and the changing world วิทยากรคือ Ms. Christine Reyes (Consultant instructional Design and development unit, Learning Management Office) เราได้เรียนรู้พัฒนาการทางการศึกษาผ่านยุคต่างๆ โดยในยุคปัจจุบัน เป็นยุค Modern workplace learning (New role of learning and development) (ของประเทศไทยคือ ยุค Education 4.0) เรียนรู้คุณลักษณะสำคัญของผู้เรียน Generation Z ทราบผลการทดสอบ PISA ของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ยังมีคะแนนไม่สูง และวิทยากรให้เราอ่านข่าวเกี่ยวกับการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้เห็นถึงความพยายามของหลายประเทศในการพยายามปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในประเทศตนเอง จากนั้นวิทยากรให้เราทำการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ต้องการขับเคลื่อนการศึกษาในโรงเรียนของตนเอง โดยคำนึงถึงปัจจัยและแนวโน้มของสังคม (Community) ประเทศ (Country) อาเซียน (ASEAN Community) โลก (Global) ให้แต่ละประเทศได้นำเสนอสิ่งที่ต้องการขับเคลื่อนในประเทศของตน โดยในส่วนของประเทศไทย หลังจากที่แต่ละคนได้วิเคราะห์และทำงานส่วนตัวแล้ว (Individual work; Define the top (1-2) priority areas that I need to focus on in my school) พบว่ามีความเห็นตรงกันว่า สิ่งที่ต้องพัฒนาและขับเคลื่อนคือ การพัฒนาคุณภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสู่ผู้เรียน (Teacher Development; Active Teaching)

หลังจากเสร็จกิจกรรม ผมเชื้อเชิญให้แต่ละท่านที่ยังไม่ออกจากห้องเรียนในทันที ได้มาถ่ายรูปหมู่ร่วมกันแบบไม่เป็นทางการ ผมสังเกตพบว่า พวกเราจะมีลักษณะนิสัยคล้ายกันอยู่คือ มีอารมณ์ขันและรักสนุก ทำให้เราเข้ากันได้ค่อนข้างเร็ว ช่วงเย็นเรา (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า) เดินไปที่สวนสาธารณะ ผ่านโซนที่คล้ายๆ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ University of Philippine ผมสังเกตพบว่าสัตว์ต่างๆ เช่น เป็ด แมว มีความคล้ายคลึงกับที่ประเทศไทย เราเดินไปถึงอนุสาวรีย์ของเมืองเคซอน ห่างจากที่พักราว 1.5 กิโลเมตร บันทึกภาพ ทานข้าวเย็นและเดินเท้ากลับที่พัก

วันที่ 4 (22 มกราคม 2563) :
วันนี้อบรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง Leading the Enrichment of My school curriculum วิทยากรคือ Professor Leonor Ercillo Diza (Faculty, College of education, University of the Philippine) วิทยากรให้เราทำกิจกรรมกลุ่มและสรุปประเด็นเกี่ยวกับ Strategies in curriculum enrichment จากนั้นให้ทำงานเดี่ยว (Individual work; Continue working on the priority area) เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษาที่ต้องคำนึงถึงแนวโน้มของสังคม (Community) ประเทศ (Country) อาเซียน (ASEAN Community) โลก (Global)

ช่วงบ่ายวิทยากรให้จัดกลุ่มทำงาน ได้แก่ กลุ่มนักการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา 2 กลุ่ม และกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ข้าพเจ้าอยู่ในกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจาก 8 ประเทศ (อินโดนีเซีย, ลาว, กัมพูชา, ติมอร์เลสเต, เมียนมาร์, เวียดนาม, มาเลเซีย) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร และยุทธศาสตร์การพัฒนาครูในโรงเรียนของตนเอง โดยในช่วงของการสรุปงาน วิทยากรได้เชิญให้ข้าพเจ้าร่วมแชร์ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนที่เขียนไว้ คือ คนพร้อมงานเดิน, คนเข้มแข็ง งานคุณภาพ, คนมั่นคง งานเป็นเลิศ, คนเป็นผู้นำ งานเป็นต้นแบบ ให้กับทุกคนได้รับฟัง

ช่วงเย็น เราเดินไปทานข้าวที่โซนอาหารของตึก IBM ขากลับแวะ Family Mart ซื้อของใช้เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งพบว่าเขาใช้ถุงกระดาษใส่ของที่เราซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับที่เคยได้ยินมาว่า ที่ฟิลิปปินส์มีการรณรงค์ยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้ออย่างจริงจังมาระยะหนึ่งแล้ว

วันที่ 5 (23 มกราคม 2563) :
วันนี้ ทีมคนไทยเป็น Host Team ทำหน้าที่สรุปความรู้เรื่องที่เรียนมาเมื่อวานนี้ โดยใช้การตอบคำถามผ่าน www.kahoot.it และทำกิจกรรมนันทนากรช่วงก่อนเข้าเรียนเช้าและบ่าย

วันนี้อบรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง Facilitating the professional Development of My teacher วิทยากรคือ Teacher Mai, SEAMEO INNOTECH และให้แต่ละคน นำเสนอถึงสิ่งที่ได้ทำในโรงเรียนและได้ผลดี คนละ 1 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ คือ การอบรม การ coaching และ Mentering

ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรม Showcase other Model of Teacher Development โดยแต่ละคนจะเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ 4 เรื่อง วิทยากรจะเลือกเรื่องที่มีผู้สนใจมากที่สุด 8 เรื่อง ผู้เข้าอบรมเลือกเข้าฟังตามกลุ่มที่สนใจครั้งที่ 1 จำนวน 4 เรื่อง ข้าพเจ้าเลือกเข้ากลุ่ม ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ Project base Learning นำเสนอโดย ผอ. มัธยมศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 2 จำนวน 4 เรื่อง ข้าพเจ้าเลือกเข้ากลุ่ม Communication Skill และ Coaching นำเสนอโดย ผอ. มัธยมศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์

ช่วงเย็น แต่งชุดประจำชาติร่วมงานครบรอบ 50 ปี ของ SEAMEO INNOTECH ได้เห็นความมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาและการเกิดขึ้นของ SEAMEO INNOTECH ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่ขับเคลื่อนในภาพรวมของอาเซียนอีกด้วย

วันที่ 6 (24 มกราคม 2563) :
สิ่งที่ได้ทำในวันนี้ คือ Look Back one week learning and make the school action plan. และ Mid Course Evaluation วิทยากรให้เราสรุปและสะท้อนตนเอง จากการทำกิจกรรมในรอบ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา จากนั้นช่วงบ่ายวิทยากรให้แต่ละประเทศ ได้จัดทำรายละเอียดในแผนพัฒนาโรงเรียนในประเด็นที่ตั้งใจจะพัฒนา ซึ่งข้าพเจ้าจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสู่ผู้เรียน (Teacher Development; Active Teaching) และในช่วงสุดท้ายของวัน ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับ Digital Education โดย Ms. Peg Koedel (Expert in Digital education and Gamification Flexible Learning Unit) และการตอบคำถามเพื่อการเข้าใจตนเอง เช่น อะไรทำให้เรามีความสุข อะไรทำให้เราเสียใจ อะไรทำให้เรามีแรงบันดาลใจ เราจะจัดการกับปัญหาที่เข้ามาอย่างไร

กิจกรรมในวันนี้ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ที่ข้าพเจ้ามองเห็นปัญหาที่ไม่เคยเห็นหรือมองข้ามไป ทำให้ข้าพเจ้าได้ข้อสรุปว่า ยิ่งมองเห็นรายละเอียดมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะพัฒนาโรงเรียนเราให้ดีมากขึ้นเท่านั้น (The more detail you look into, the more you can develop school)

วันที่ 7 (25 มกราคม 2563) :
กิจกรรมวันนี้คือ One Day trip in Manila, Philippine. One day Trip in Manila, Philippine ทุกประเทศ มีเรื่องราวของตนเอง : วันนี้ SEAMEO INNOTECH นำพวกเราไปเที่ยวชม Rizal Park, ……, ทานข้าวกลางวันและฟังดนตรีที่ Babarus จากนั้นไปชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และไปเดินซื้อของที่ Green Hill และเดินทางกลับถึงที่พักประมาณ 20.30 น.

ผมเคยคิดว่า กำแพงเมืองอยุธยาใหญ่มาก แต่ปล่าวเลย ที่นี่ กำแพงเมืองใหญ่กว่ามาก แน่นหนากว่ามาก การทำลายกำแพงเมืองต้องใช้ลูกกระสุนใหญ่มาก ซึ่งไม่ระคายผิวกำแพงแม้แต่น้อย นี่อาจเป็นเหตุผลที่เจ้าอาณานิคมหลายชาติ ที่หมุนเวียนกันมาปกครอง สามารถปกครองได้หลายร้อยปี

แต่กำแพงนี้ก็ไม่สามารถป้องกันแรงปรารถนาของผู้คนที่ต้องการเอกราชได้ แรงบันดาลใจที่สำคัญเกิดเมื่อ เจ้าอาณานิคม ฆ่าชายผู้เป็นกบฎ แต่กลายเป็นฮีโร่ของคนฟิลิปปินส์ นามของเขาคือ Jose rizal (ชายหนุ่มผู้มีแฟนถึง 9 คน … ถูกประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชน โทษฐานเป็นกบฏ ตอนอายุ น่าจะ 35 ปี)

วันที่ 8 (26 มกราคม 2563) :
กิจกรรมวันนี้ คือ Free Relaxing Day : หลังจากทานอาหารเช้าเสร็จ ก็ทำการบ้านสรุปงานที่เรียนมาตลอด 1 สัปดาห์ และเดินเท้าไปชม University of the Philippine โดยมีเป้าหมายที่คณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักราว 3 กิโลเมตร กล่าวกันว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟิลิปปินส์ เดินทางกลับถึงที่พักราว 15.30 น. พักผ่อน

วันนี้ข้าพเจ้าได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นต่างๆ กับคุณนิกร … ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการจากโรงเรียนเอกชนในประเด็นต่างๆ และทำให้ข้าพเจ้าได้สรุปความคิดสำคัญไว้ได้ ดังนี้
1. ถ้าครูใส่ใจทำหน้าที่สอนและงานที่รับผิดชอบ ให้ดีเท่ากับเวลาในการทำธุรกิจของตนเอง เด็กไทยเก่งขึ้นแน่นอน
2. การทำให้ครูอยู่ในสถานศึกษา ไม่ออกไปข้างนอก และใส่ใจงานในห้องเรียน รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียนที่ยึดเด็กเป็นที่ตั้ง ไม่ดึงครูออกมาทำงานนอกในเวลาสอน ก็จะทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีขึ้น

วันที่ 9 (27 มกราคม 2563)
วันนี้อบรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Engaging My Stakeholders วิทยากรคือ Ms. Gisela H. Tiongson (Executive Director Jolibee Foundation)

Jollibee Foundation ได้ทำโครงการสำคัญด้านการศึกษา คือ การทำให้นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณภาพ โดยจัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการของนักเรียนอย่างเป็นระบบทั่วประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 33 BLT Kitchen ครอบคลุม 235 โรงเรียน และส่งผลกับนักเรียนต่อปีปีละ 250,000 คน โดยมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีคุณภาพในท้องถิ่น มีแม่ครัวทำอาหารที่มีคุณภาพของ Jollibee

หลังการนำเสนอกิจกรรมของ Jollibee Foundation เราได้วิเคราะห์ถึง Engaging the stakeholders for improve school performance หลัก The golden circle ซึ่งประกอบด้วย why how what คือ เริ่มต้นด้วย ทำไม (วิสัยทัศน์และพันธกิจ) อย่างไร (กระบวนการและกลยุทธ์) และอะไร (กิจกรรม หรือโครงการต่างๆ)

ช่วงบ่ายเป็นการทำกิจกรรม Lost to the moon exercise เพื่อนำไปสู่การสรุปว่า การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และสรุปประเด็นเกี่ยวกับ stakeholder Engagement ตามหลัก www.how และใช้หลักการนี้ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมที่ข้าพเจ้าจะดำเนินการในโรงเรียน (Teacher Development; Active Teaching) ดังนี้
1. who are stakeholder
2. what they have and what they can contribute to you
3. why they should partner with or support you
4. How you can engage them
วิทยากรสรุปด้วย Engagement spectrum the stakeholder 5 รูปแบบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
1.Inform
2.consult
3.involve
4.collaboration
5.Empower

วันที่ 10 (28 มกราคม 2563)
Day 9 : School Immersion : Visit Quirino High School : กลุ่มที่ 3/4 ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาของโรงเรียน Quirino พบประเด็นที่น่าสนใจและแตกต่างบางประการ ซึ่งจะนำเสนอและเผยแพร่ทางเว็บไซต์ต่อไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ภาษาอังกฤษสำคัญ ถ้าภาษาอังกฤษเราดีกว่านี้ เราจะสามารถแสดงความเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดีกว่านี้ ต้องพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่านี้ รู้สึกอายเขา

วันนี้เป็นวันที่ทานอาหารอร่อย เพราะได้ทานอาหารท้องถิ่น ที่ขายแบบร้านข้าวแกง รสชาติโอเค และราคาถูก 30-40 บาท แต่อิ่มพอดี

วันที่ 11 (29 มกราคม 2563)
Day 10 : School Immersion : Visit Quirino High School and Recommendation : I share about how I encourage my stuffs to be expert teachers. Recommendation for school; (1) students visit and also academic conferences for students in ASEAN countries, and (2) entrepreneurship in public school Project (ขอเขียนภาษาอังกฤษสักวัน)

วันนี้ต้องวิ่ง ด้วยเหตุผลหลายอย่าง (1) วิ่งสู้หวัด (2) วิ่งให้หัวใจสูบฉีด (3) วิ่งแสดงความฟิต Run 2 Km. around International House, SEAMEO INNOTECH, Philippine วิ่งวันนี้ 2 กิโลเมตร กับโครงการก้าวท้าใจ ของกระทรวงสาธารณสุข ต้องวิ่งรอบอาคารที่พัก ออกห่างไม่ได้เพราะไม่มีสัญญาณเน็ต วิ่งเยอะกว่านี้ไม่ได้ เหนื่อย

วันที่ 12 (30 มกราคม 2563)
กิจกรรมในวันนี้ เป็นการตอบคำถามเพื่อสะท้อนตนเอง 2 คำถาม คือ (1) เราได้เรียนรู้สมรรถนะสำคัญอะไรจากการไปเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ข้าพเจ้า สะท้อนด้วยคำว่า Stakeholder Engagement คำถามที่ 2 คือ จากระสบการณ์ที่เรียนรู้มานั้น เราจะยืนยันสมรรถนะอะไร ข้าพเจ้าสะท้อนด้วยคำว่า “Vision; think about future” จากนั้นวิทยากรให้เรา ได้พิจารณาแผนพัฒนาโรงเรียนของตนเองร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 3 คน ข้าพเจ้าเห็นโครงการของ ผู้อำนวยการโรงเรียนจากประเทศบรูไน ที่ดำเนินการเรื่อง การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจการบ้านนักเรียน และโครงการเพื่อทำให้นักเรียนที่มีความหลากหลายทางศาสนา 5 ศาสนา ทำกิจกรรมร่วมกันและมีพฤติกรรมที่ดี

จากนั้น วิทยากรให้เราวาดภาพสะท้อนถึง โรงเรียนของเราในอีก 1 ปีข้างหน้า ใช้เวลา 30 นาที แล้วนำมานำเสนอร่วมกันในห้อง ข้าพเจ้าวาดภาพดังนี้

จากภาพมีความหมายว่า จุดเน้นของการพัฒนาโรงเรียนคือ โรงเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรม การจะสำเร็จได้ เกิดจากบุคลกรในโรงเรียนและภาคีเครือข่ายร่วมมือกันด้วยความรักต่อผู้เรียน และมีการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารทั่วไป และด้านบริหารงบประมาณ ด้วยสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผู้รียนเป็นคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และพยายามสร้างความโดเด่นของโรงเรียนในด้านดาราศาสตร์ศึกษา ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญของโรงเรียน

ช่วงบ่ายวันนี้ เป็นช่วงพักผ่อนและเตรียมตัวเดินทางกลับบ้าน ช่วงเย็นมีกิจกรรม Farewell Party

วันที่ 13 (31 มกราคม 2563)
เดินทางออกจากที่พัก ไปสนามบินแห่งชาติปาไซ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และเดินทางกลับประเทศไทยโดยสวัสดิภาพ ถึงโรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา 1 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมกับข่าวการเริ่มแพร่ระบาดของโรคโควิด 2019

ทั้งนี้ ในระยะที่ 3 ของการฝึกอบรม (9-13 มีนาคม 2563) ข้าพเจ้าได้เขียนจดหมายถึงผู้เข้ารับการอบรม ดังนี้

Phase 3 : Week 1 (March 9 – 13) : Sakanan Anantasook; SONG, Thailand.

Stakeholders are very important for school. After I came back from SEMEO Innotech. I was supported the fund by stakeholders to complete the dome concrete filed 1500 Square meters, long time cannot do it, but I managed and done it only 1 month after I came back from Philippine. We use this area for support teaching and learning out of classrooms. I think everyone in school are very satisfied.

In addition, the open house in this academic year (6 of March) I invite the header and the team from 11 villages in our sub-district to support the food for student participants; primary students and also secondary students. They respond me that they love this activities and need to support our school like this in every year school open house.

Furthermore, according to my action plan, I want to motivate our teachers to develop themselves and become innovative and active teachers. On the day of open house, They showcase of active teaching and their students mini projects. I set the 1st NKW independent study and symposium exhibitions 2019 in my school. Then, I reported and published the paper of this best practices as “one school one innovation” of Secretariat Office of the Teachers Council of Thailand.

Finally, because of I attended in SEDF Program, so 24-25 February 2020 I was invited from National Institute for Development of Teachers, Faculty Staff and Educational Personnel (NIDTEP), Thailand to share some ideas and improves the school principal course training under next years project of Capacity Building for Sustainable Education Leaders towards Becoming Regional and Global Citizen : CBSEL) in southwest university (SWU) chongqing, China.

Miss you every one.



Leave a Comment