นายศรพงษ์ สมยิ่ง หรือ พงษ์ ชำเบง เจ้าของวงดนตรีกันตรึม น้องใหม่ของชาวอีสานใต้ และผลงานเพลงใต้ดิน ร้องเอง อัดเอง เผยแพร่เองทาง Youtube รับงานแสดงกันตรึม ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน โกนจุก บวชนาค หรืองานเทศกาลต่าง ๆ ในทุกท่วงทำนอง ทั้งอ่อนหวาน สนุกสนาน และโศกเศร้า ราคาตามใจเจ้าภาพ สนใจทีมงานเล็กแต่มากด้วยคุณภาพ น้ำหวาน เมืองสุรินทร์ และพงษ์ ชำเบง ติดต่อวงดนตรีกันตรึม พงษ์ ชำเบง โทร 0870402025, 0879668905 (ฝากผลงานของลูกศิษย์ฝีมือคุณภาพคนนี้ ไว้ในอ้อมใจของทุกท่านด้วยครับ)
ประวัติความเป็นมาของกันตรึม
กันตรึม หรือ โจ๊ะกันตรึม เป็นวงดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ หรือชุมชนชาวเขมรสูง ซึ่งเป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ถือกันว่า กันตรึม เป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวกันว่า สืบทอดมาจากขอมโบราณ เดิมทีการละเล่นแบบนี้ ใช้สำหรับขับประกอบการแสดงบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี ประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้ โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ จึงรักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรม แต่ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงโดยทั่ว ๆ ไป
ลักษณะเพลงกันตรึม เป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ที่เป็นเอกลักษณ์ของกันตรึม จะมีกลองที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีเสียงจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม จึงเป็นที่มาของวงดนตรีที่เรียกว่า กันตรึม
เครื่องดนตรีกันตรึม ประกอบด้วย ปี่อ้อ 1 เลา ขลุ่ย 1 เลา ซอกันตรึมหรือซอกลาง 1 คัน กลองกันตรึม 2 ลูก เครื่องประกอบจังหวะมีฉิ่ง ฉาบ กรับ ทำนองเพลงใช้แม่บทเพลงพื้นบ้าน เช่น มะโล้บโดง ผการัญเจก โอมตุ๊กสืบทอดกันมาจากพ่อครูแม่ครูเพลง เนื้อเพลงที่ใช้ร้องจะเป็นภาษาเขมรสูงมีเนื้อหาที่สะท้อนถึง ความเป็นมา ความรักและการบรรยายให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่
ผู้เล่นกันตรึม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย จำนวน 4-5 คน ฝ่ายหญิงส่วนใหญ่จะเข้ามาร่วมรำและร้องบ้างเป็นบางครั้ง
การแต่งกายเล่นกันตรึม แต่งตามประเพณีของท้องถิ่น ผู้ชายใส่เสื้อคอกลม นุ่งโจงกระเบน ผ้าขาวม้าคาดเอว และมีผ้าขาวม้าอีกชิ้นหนึ่งพาดบ่าทั้งสองข้าง ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นแบบเขมร สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอกอาจมีผ้ารัดอกอีกชิ้นหนึ่งรัดอกทับเสื้อหรือแต่งตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น ก่อนจะเล่นกันตรึมจะมีการไหว้ครูก่อน นักดนตรีหันหน้าไปทางทิศตะวันออกวางเครื่องดนตรีและเครื่องสังเวยรวมกันไว้ข้างหน้า เมื่อผู้ที่กระทำพิธีนำสวดคาถาบูชาครูเสร็จจึงจะเริ่มการแสดงต่อไป
เพลงพื้นบ้านกันตรึมนิยมเล่นในโอกาสทั่ว ๆ ไป ทั้งงานที่เป็นมงคล และงานอวมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบุญ งานบวชนาค งานบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ทำบุญฉลองกฐิน งานเฉลิมฉลองปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง และเทศกาลงานบุญต่าง ๆ งานขึ้นบ้านใหม่ ฉลองอาคาร สะพาน สระน้ำ และเล่นตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นในพิธีบวงสรวง เข้าทรง เช่น โจลมม็วต หรือบองบ็อด
กันตรึมได้รับการสืบทอดแบบมุขปาฐะ (Oral Tradition) ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร กันตรึมพื้นบ้านจึงมีสภาพที่ไม่แตกต่างกับการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ที่กำลังลดความนิยมลงไป ทำให้กันตรึมพื้นบ้านในปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยในขณะเดียวกันวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลเช่น การนำเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาผสมหรือใช้เครื่องดนตรีตะวันตกในรูปแบบวงสตริง หรือเปลี่ยนรูปแบบเป็นเพลงลูกทุ่งมีหางเครื่องมาเต้น และมีการปรับรูปแบบแข่งขันกันตามสมัยนิยมเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น
ตัวอย่างการแสดงสด พงษ์ ชำเบง
สนใจวงดนตรีชุดเล็ก ชุดใหญ่ ตามใจเจ้าภาพ : ติดต่อวงดนตรีกันตรึม พงษ์ ชำเบง และน้ำหวาน เมืองสุรินทร์ : โทร 0870402025, 0879668905
ความรู้เกี่ยวกับกันตรึม : เรียบเรียงจาก :
1. http://www.culture.go.th/subculture4/index.php?option=com_content&view=article&id=24:2013-02-11-15-13-42&catid=50:nationalich2012
2. http://th.wikipedia.org/wiki/วงกันตรึม
3. http://wissanusangketkit.blogspot.com/2011/08/blog-post.html