วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”
ความสำคัญวันมหิดล
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธย จากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย เป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 “
ในปี พ.ศ. 2493, 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุม เพื่อน้อมเกล้าถวาย ความกตัญญูกตเวทีและเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาลเป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่งหลังได้จำเริญ ตามรอยพระยุคลบาทสืบไป
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด พระราชนุสาวรีย์ เมื่อวันที 27 เมษายน 2493 และ ในวันที่ 24 กันยายนปีเดียวกันนี้เอง นักศึกษาแพทย์ ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และทางคณะแพทย์ศาสตร์ พร้อมด้วย ศิริราชพยาบาล ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ยึดถือเอาวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันที่น้อมรำลึกถึงพระองค์ โดยให้ชื่อว่า วันมหิดล และงานวันมหิดลได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในวันที่ 24 กันยายน 2499
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ให้วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 วันมหิดล เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ ตามมติ ครม.
กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันมหิดล
ถวายสักการะ และวางพวงมาลา กิจกรรมรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ การจัดนิทรรศการ การจัดสัมมนาทางวิชาการ การประกวดหรือการแข่งขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกวดโรงพยาบาลดีเด่น และอื่น ๆ เช่น การมอบรางวัลให้กับแพทย์ พยาบาล ดีเด่น และผู้เสียสละเพื่อชาวชนบท เพื่อสังคม
ที่มาของข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.”วันมหิดล,” th.wikipedia.org/wiki
ภาพประกอบจาก : http://culture.srru.ac.th/wp-content/uploads/2020/10/119857654_3541392432579606 _5837293995575368505_o.jpg