แนวคิดแบบลีน (LEAN THINKING) การดำเนินธุรกิจแบบลีน เน้นการสร้างคุณค่า และขจัดความสูญเปล่า

แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) จะเน้นการสร้างคุณค่า และขจัดความสูญเปล่า (Wastes) ทั้ง 8 ประการ โดย Jeffrey Liker ได้นำเสนอไว้ในหนังสือวิถีแห่งโตโยต้า (The Toyota Way) ได้แก่

1. งานที่ต้องแก้ไข (Defect) – ต้นทุนที่สูญเปล่า การซ่อมแซมแก้ไข
2. การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Over production) – เปลืองที่จัดเก็บ เสียงบประมาณ
3. การรอคอย (Waiting) – รอนาน กระบวนการติดชะงัก
4. ความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent) – ใช้คนไม่เหมาะสมกับงาน
5. การขนย้ายบ่อย ๆ (Transportation) – ขนย้ายบ่อยเกินไป ต้องใช้กำลังคนและใช้เวลา
6. สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) – สินค้าไม่ถึงมือลูกค้า
7. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion) – เคลื่อนไหวบ่อยไป อาจเกิดความเสียหาย
8. ขั้นตอนซ้ำซ้อนไม่ถูกต้อง (Excess Processing) – ทำให้เสียเวลาในการผลิตต่อชิ้นมากเกิน สิ้นเปลือง

หรือจำได้ง่าย ๆ โดยการนำตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของทุกข้อมาเรียงกัน ได้เป็นคำว่า “DOWNTIME” หรือ เวลาที่เสียเปล่าไม่ได้เกิดการสร้างคุณค่าใด ๆ

ความสูญเปล่า 8 ประการ
ที่มา: สิริพงศ์ จึงถาวรรณ, 2560, LEAN ลดต้นทุนธุรกิจ งานเสร็จไว กำไรพุ่ง,
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ Dดี.

แนวคิดลีน ทำให้ SME ในประเทศญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงติดอันดับโลก (World Class) ดังที่ Taiichi Ohno อดีตผู้อำนวยการผลิตของโตโยต้าเคยกล่าวไว้ว่า “การพิจารณาช่วงเวลาตั้งแต่ที่ลูกค้าสั่งซื้อ จนถึงเมื่อรับเงินจากลูกค้า และเราจะลดช่วงเวลานั้นให้สั้นลงได้โดยการกำจัดความสูญเปล่า”

Lean Manufacturing – (มาจากระบบ Toyota, TPS)
การผลิตแบบ Lean เน้นความคล่องตัวเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง เช่น ความต้องการลูกค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการ พนักงาน สถานที่ใหม่
-ใช้ทรัพยากรสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า
– คิดจากมุมมองลูกค้า
– เพิ่มคุณค่า (Value) ลดความสูญเปล่า (Waste)
– พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

หลักการผลิตแบบ Lean
– ได้ผลลัพธ์สูงแม้ทรัพยากรน้อย
– ทำให้เกิดการไหลของงาน ทำทีละชิ้น
– ลดความสูญเปล่า
– อย่าทำสิ่งที่ไม่มีความหมายต่อลูกค้า
– สร้างคุณภาพตั้งแต่ต้นเพื่อป้องกันของเสียหลุดไปยังลูกค้า

ลักษณะการผลิตแบบ Lean
– ตอบสนองการเปลี่ยนลูกค้าได้รวดเร็ว
– เกิดการลื่นไหลของชิ้นงานอย่างเห็นได้ชัด
– ของเสียน้อย เกิดปัญหาแล้วรู้ทันที
– ตรวจย้อนไปยังสาเหตุของปัญหาการผลิต
– แก้ไขน้อย และรวดเร็ว
– พนักงานมีขวัญกำลังใจ พนักงานมีส่วนร่วม

ข้อควรรู้
– Lean ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของงาน + ประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงาน
– การนำ Lean ไปใช้ อาจไม่จำเป็นต้องทำทั้งองค์กรใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ให้เริ่มจากตนเองหรือหน่วยงานตนเองก่อน โดยจะช่วยทำให้กระบวนการทำงานและชิ้นงานออกมาดีขึ้นทีละนิดๆ
– Lean สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในองค์กรการศึกษา ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรม
– การนำ Lean มาใช้ สำคัญคือ “ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญอย่างจริงใจ”
– อย่าเพิ่ม Value ด้วยการเพิ่มทรัพยากร แม้รายได้เพิ่ม แต่อัตราการผลิตคงที่ (คนไม่พอ)

ตัวอย่างการนำแนวคิด Lean มาใช้ในการบริหารสำนักงานในโรงเรียน 
1. จัดทำระเบียบ/แนวปฏิบัติให้ชัดเจนในการปฏิบัติงานของกลุ่มงานต่างๆ
2. สร้างมาตรฐานการทำงานและให้บริการ เพื่อการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน เพื่อความเข้าใจตรงกัน ไม่ทำงานซ้ำซ้อน
3. มีขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจนทุกๆงาน เพื่อความรวดเร็วในการบริการ
4. ลด/ละ/เลิก การใช้กระดาษ เลือกจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลแทนกระดาษ
5. บริหารจัดการพื้นที่ของศูนย์/สำนักงาน/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน

เรียบเรียงจาก : https://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=539



Leave a Comment