เส้นผมของคน มีประมาณ 80,000 – 1,200,000 เส้น ประมาณ 85-90% ของเส้นผมจะอยู่ในช่วงที่มีการเจริญงอกงาม และยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร และมีอายุนาน 2-6 ปี และที่เหลือ 10-15% เส้นผมจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่ตลอดเวลาตามวัฏจักรของเส้นผมที่จะมีการหลุดร่วง และการงอกขึ้นใหม่ ประมาณไม่เกินวันละ 30-50 เส้น ดังนั้น หากเป็นการร่วงโดยธรรมชาติ ก็ไม่เกิดผลกระทบใดๆต่อเจ้าของ แต่ถ้าเป็นการร่วงที่ผิดปกติจากที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้จำนวนเส้นผมลดลงอย่างต่อเนื่อง จนภาวะผมบางเกิดขึ้น เจ้าของเส้นผมจึง ควรสังเกตอาการดูสักระยะ ถ้าไม่ดีขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพ ดูว่าเป็นโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ผมร่วง หรือไม่ โดยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ดังนี้
1. ผมร่วง จากกรรมพันธุ์
ส่วนใหญ่มักจะพบในเพศชาย เนื่องจาก รากผม มีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ เส้นผม มีอายุสั้นกว่าปกติ และ เส้นผม ที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กและบางลง เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้บริเวณนั้นดู ผมบาง ลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะ และหน้าผาก เริ่มสังเกตได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิง มักจะเริ่มแสดงอาการหลังวัยหมดประจำเดือน ทำให้ดู ผมบาง ลง
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง จากกรรมพันธุ์
ปัจจุบัน ไม่มียาที่ใช้ป้องกันและรักษาที่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ยาส่วนใหญ่จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น minoxidill, finastericde หรือ dutasteride ยาเหล่านี้ เมื่อหยุดใช้ ผม ก็จะกลับมาร่วงอีก การรักษาและแก้ปัญหาจากกรณีนี้ จึงควรเป็นการรักษาด้านกายภาพ ที่จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผมร่วง ผมบาง ให้กลับมาดีขึ้นได้ และชะลอการ หลุดร่วง ของ เส้นผม
2. ผมร่วง จากยาและการฉายรังสี
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการ ผมร่วง เช่น ยารักษามะเร็ง, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เช่น เฮพาริน (Heparin), ยารักษาคอพอกเป็นพิษ, ยาคุมกำเนิด,คอลชิซีน, อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ซึ่งใช้ป้องกันโรคเกาต์, แอมเฟตามีน (Amphetamine) เป็นต้น นอกจากนี้ การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง ก็อาจทำให้ ผมร่วง ได้
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง จากยาและการฉายรังสี
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา
3. ผมร่วง จากการทำผม
การทำ ผม ด้วยการม้วน ผม ดัดผม เป่าผม หรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการ ผมร่วง ได้ บางรายถึงขั้นรุนแรงชนิดที่ว่า ขนาดอยู่เฉย ๆ ก็เห็น ผมร่วง หล่นลงมาอย่างเห็นได้ชัด
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง จากการทำผม
ไม่ควรใช้วิธีการทำผมที่รุนแรง เช่นดึงผมอย่างแรง หรือใช้น้ำยาทำผมจากสารเคมีที่แรงเกินไป นอกจากนี้ ควรใช้แชมพูสูตรอ่อนละมุน หมั่นสระผม เช้า-เย็น เพื่อขจัดน้ำยาต่าง ๆ ที่แพ้ได้อย่างทันท่วงที
4. ผมร่วง จากเชื้อรา
โรคเชื้อราที่หนังศีรษะ (กลาก เกลื้อนที่ศีรษะ) พบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกาย โรคนี้จะทำให้ ผมร่วง เป็นหย่อม ๆ แต่จะมีลักษณะขึ้น เป็นผื่นแดง คันและเป็นขุยหรือสะเก็ด นอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา (กลาก) ที่ มือ เท้า ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย การขูดเอาขุยที่หนังศีรษะ หรือเอา เส้นผม ในบริเวณนั้นมา ละลายด้วยน้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อราที่เป็นสาเหตุ
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วงจากเชื้อรา
ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟุลวิน ซึ่งอาจต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
5. ผมร่วง จากโรคต่างๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสเอลอี , โรคมะเร็ง, โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคทางต่อมไทรอยด์, โรคไทฟอยด์, โรคซิฟิลิส, โรคไต เป็นต้น อาจมีอาการ ผมร่วง ผมบาง ร่วมกับ อาการของโรคเหล่านี้ เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วง จากโรคอื่นๆ
สำหรับ โรคซิฟิลิส หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจเลือดหา วีดีอาร์แอล (VDRL) ถ้าเป็นโรคซิฟิลิส ควรให้การรักษาแบบซิฟิลิส ระยะที่ 2 ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมักทำให้กลายเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3 ซึ่งเป็นอันตรายได้
6. ผมร่วง เป็นหย่อม
อาจมีสาเหตุจากเชื้อรา (กลาก), ซิฟิลิส, การถอนผม, รอยแผลเป็น หรือสาเหตุอื่น ๆ แต่มี โรคผมร่วงเป็นหย่อม อยู่ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เรียกว่า “โรค ผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ (Alopecia areata)” เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งเป็นคราว พบมากในวัยหนุ่มสาว พบน้อยในคนอายุเกิน 45 ปี ขึ้นไป ทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่า ๆ กัน ภาวะเครียดทางจิตใจอาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการได้ ผู้ป่วยจะมีอาการ ผมร่วง เฉพาะที่ ทำให้ ผม แหว่งหายไปเป็นหย่อม ๆ มีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มี เส้นผม แต่จะเห็นรูขุมขน หนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติทุกอย่าง ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ด หรือเป็นขุย ในระยะแรกจะพบ เส้นผม หักโคนเรียงอยู่บริเวณขอบ ๆ บางคนอาจพบ เส้นผม สีขาวขึ้นในบริเวณนั้นผู้ป่วยอาจมี ผมร่วง เพียง 1-2 หย่อม หรืออาจมากกว่า 10 หย่อม ถ้าเป็นมากอาจลุกลามจนทั่วศีรษะ จนไม่มี เส้นผม เหลืออยู่เลยแม้แต่เส้นเดียว บางคนอาจมีอาการ ขนตา และ ขนคิ้ว ร่วงร่วมด้วย เรียกว่า “ผมร่วงทั่วศีรษะ (Alopecia totalis)” ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้เองตามธรรมชาติ แต่อาจกินเวลาเป็นปีกว่าจะหาย (ประมาณ 50% ของผู้ป่วยหายภายใน 1 ปี ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย จะมี ผม ขึ้นภายใน 5 ปี) บางคนเมื่อหายแล้ว อาจกำเริบได้ใหม่เป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง ประมาณ 40% ของผู้ป่วยจะกำเริบซ้ำอีกภายใน 5 ปี หรือไม่อาจมีคนอื่น ๆ ในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (โดยที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ) บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบจากออโตอิมมูน, โรคแอดดิสัน,โรคด่างขาว เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาผมร่วงเป็นหย่อม
ผู้ป่วยควรไปตรวจที่โรงพยาบาล เพราะอาจต้องเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล หรือขูดเอาหนังส่วนนั้นไปตรวจ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากซิฟิลิส หรือเชื้อรา อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นโรค ผมร่วง หย่อมไม่ทราบสาเหตุ ก็ให้ใช้ครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์ หรือ ครีมบีตาเมทาโซนขนาด 0.1% หรือทาด้วยขี้ผึ้งแอนทราลิน (Anthralin) ขนาด 0.5% วันละครั้ง ถ้าไม่ได้ผลใน 1 เดือน ก็อาจฉีดยาสเตอรอยด์ (เช่น ไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์) เข้าใต้หนังในบริเวณที่เป็นทุก 2 สัปดาห์ในรายที่เป็นรุนแรง ( ผมร่วง ทั้งศีรษะ) อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน ชนิดกินยาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ ผมงอกเร็ว ขึ้น
ปล. : สำหรับผู้ชาย การไว้ผมยาว จะทำให้ผมร่วงได้ง่าย และเยอะกว่าไว้ผมสั้น ?? [ประสบการณ์ของผู้เขียนบล็อก]
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.yalee2health.com/วิธีแก้ปัญหาผมร่วง.html
ภาพประกอบจาก : http://antechhair.com/wp-content/uploads/2014/03/hair-loss1.jpg