[กรณีศึกษา] การศึกษาการร่วมมือของนักเรียน จากการเล่นเกม “บริษัทจำกัด” เกมวัดพฤติกรรมกลุ่ม ร่วมมือหรือแข่งขัน

ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นผลการศึกษาพฤติกรรม “การร่วมมือ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ …… โรงเรียน xxxxxxxxx  เมื่อวัน ……. ที่ ….. เดือน …………… พ.ศ. ….. ในคาบที่ 7 (แนะแนว) ของ คุณครู yyyyyy  yyyyy โดยใช้เกม “บริษัทจำกัด” เกมนี้สามารถที่จะศึกษาพฤติกรรมของผู้เล่นได้ทั้งในแง่การให้ความร่วมมือและการแข่งขัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

เกม “บริษัทจำกัด” ได้แบ่งผู้เล่นออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มนักเรียนหญิง 2 กลุ่ม กลุ่มนักเรียนชาย 2 กลุ่มๆละ 6 คน รวม 24 คน โดยสมมติให้แต่ละกลุ่มเป็นตัวแทนจากประเทศไทยไปดำเนินธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และมาเลเซีย ประเทศละ 1 กลุ่มบริษัท มีหน้าที่ทำกำไรให้กับบริษัทตัวเองให้มากที่สุด และบริษัทแม่ที่เมืองไทยได้กำไร วิธีการเล่นให้แต่ละกลุ่มบริษัทเลือกวิธีการดำเนินธุรกิจ ก. หรือ ข. อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จำนวน 10 ครั้ง โดยมีเงื่อนไขการได้กำไร/ขาดทุน ภายหลังการเลือก ดังนี้

game-bussiness

จากเงื่อนไข แสดงให้เห็นว่าถ้าผู้เล่นแต่ละกลุ่มเลือก ก. จะได้กำไรทุกกลุ่ม บริษัทแม่ก็จะได้กำไรเป็น 4 เท่าของแต่ละกลุ่มบริษัท แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือกัน ถ้าผู้เล่นแต่ละกลุ่มเลือก ข. จะขาดทุนทุกกลุ่ม บริษัทแม่จะขาดทุนเป็น 4 เท่าของแต่ละกลุ่มบริษัท และจะมีกลุ่มที่ได้กำไรและขาดทุนถ้าทั้งกลุ่มมีเลือก ก. และ ข. เมื่อรวมผลกำไรและที่ขาดทุนแล้วมีค่าเท่ากับศูนย์ บริษัทแม่จะไม่ได้และไม่เสียอะไร แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันกันระหว่างกลุ่ม

ผลการเล่นเกม “บริษัทจำกัด” เป็นดังนี้

  เพศ/ประเทศ

ชาย ชาย หญิง หญิง    

 ปีที่

มาเลเซีย ลาว กัมพูชา พม่า รวม

หมายเหตุ

1

+3,000 -1,000 -1,000 -1,000 0  

2

-1,000 -1,000 -1,000 -1,000

-4,000

 

3

-1,000 -1,000 -1,000 -1,000

-4,000

 

4

-1,000 -1,000 +3,000 -1,000

0

 

5

-2,000 6,000 -2,000 -2,000 0

2 เท่า

6

+4,000 +4,000 -4,000 -4,000 0 2 เท่า

7

+9,000 -3,000 -3,000 -3,000 0

3 เท่า

8

+5,000 +5,000 +5,000 +5,000 +20,000

5 เท่า

9

-10,000 -10,000 -30,000 -10,000 0

10 เท่า

10 +40,000 -40,000 +40,000 -40,000 0

20 เท่า

รวม +55,000 -42,000 +39,000 -49,000 +12,000  

วิเคราะห์ผลการเล่นเกม “บริษัทจำกัด”

ปีที่ 1-4 เราให้ผู้เล่นแต่ละกลุ่มได้เลือกวิธีการดำเนินธุรกิจ ก. หรือ ข. โดยไม่ให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ผู้เล่นแต่ละกลุ่มก็จะเลือกโดยการเดาว่ากลุ่มอื่นๆจะเลือกอะไร เกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม

ปีที่ 5 เราให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาประชุมปรึกษาหารือกัน ตัวแทนแต่ละกลุ่มตกลงที่จะเลือก ก. ทั้งหมด และให้กลับไปแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงมติที่ได้ปรึกษาหารือร่วมกันและเลือกวิธีดำเนินธุรกิจในปีที่ 5 ผลปรากฎว่ากลุ่มบริษัทในประเทศลาวฝ่าฝืนมติที่ประชุมไปเลือก ข. ทำให้บริษัทตนเองได้กำไรสูงสุดในขณะที่อีก 3 กลุ่มบริษัทขาดทุน ทำให้ผู้เล่นในกลุ่มที่ขาดทุนไม่พอใจกลุ่มที่ได้กำไรเป็นอย่างมากและกล่าวหาว่าเป็นคนทรยศและเห็นแก่ตัว

ปีที่ 6 ให้แต่ละกลุ่มเลือกวิธีดำเนินกิจธุรกิจ  ปรากฏว่ากลุ่มบริษัทในกัมพูชาและพม่า ซึ่งเป็นผู้หญิงยังคงปฏิบัติตามมติที่ประชุมเลือก ก.ในขณะที่กลุ่มบริษัทในลาวและมาเลเซียยังไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุม จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจจากผู้เล่นในกลุ่มบริษัทกัมพูชาและพม่ามากขึ้น

ปีที่ 7 แต่ละกลุ่มเลือกวิธีดำเนินธุรกิจเองโดยไม่คำนึงถึงมติที่ประชุม

ปีที่ 8 เราให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาประชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้ง โดยตัวแทนแต่ละกลุ่มได้ตำหนิกลุ่มที่ฝืนมติที่ประชุมในครั้งแรกและตกลงที่จะเลือก ก. ทั้งหมดอีกครั้ง แล้วให้กลับไปแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงมติที่ได้ปรึกษาหารือร่วมกันและเลือกวิธีดำเนินธุรกิจในปีที่ 8 ซึ่งเพิ่มผลประโยชน์เป็น 5 เท่า ปรากฎว่า ทุกกลุ่มปฏิบัติตามมติของที่ประชุม ทุกกลุ่มได้กำไร และบริษัทแม่ก็ได้กำไร ผู้เล่นทุกกลุ่มมีความพอใจกับผลที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ

ปีที่ 9 แต่ละกลุ่มเลือกวิธีดำเนินธุรกิจที่มีผลประโยชน์เป็น 10 เท่า ผลปรากฏว่า ผู้เล่นที่เป็นผู้หญิงในกลุ่มบริษัทในกัมพูชาไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเดิมที่ตกลงจะเลือก ก. ไปเลือก ข. ทำให้ผู้เล่นในกลุ่มที่ขาดทุนไม่พอใจอย่างรุนแรง กลุ่มบริษัทในกัมพูชาอ้างว่า เมื่อกลุ่มอื่นไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมกลุ่มของตนก็สามารถทำได้เช่นกัน

ปีที่ 10 เราให้ตัวแทนคนใหม่ของแต่ละกลุ่มมาประชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้ง โดยตัวแทนแต่ละกลุ่มได้ตำหนิกลุ่มที่ฝืนมติที่ประชุมในครั้งแรกและตกลงที่จะเลือก ก. ทั้งหมดอีกครั้ง มีการจับมือทำสัญญา แล้วให้กลับไปแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงมติที่ได้ปรึกษาหารือร่วมกันและเลือกวิธีดำเนินธุรกิจในปีที่ 10 ซึ่งมีผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 20 เท่า ปรากฏว่า กลุ่มบริษัทในกัมพูชาและ  มาเลเซีย ไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุม ทำให้ผู้เล่นในกลุ่มที่ขาดทุนไม่พอใจอย่างรุนแรงที่ 2 กลุ่มดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้อย่างดี

ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้เล่นเกมแต่ละกลุ่มจะแสดงความร่วมมือกันเพียง 10 % ของจำนวนครั้งทั้งหมดในการเล่นเกมนี้ สาเหตุที่ต้องร่วมมือในครั้งนี้เพราะความซื่อสัตย์ต่อมติที่ประชุม และเพื่อสร้างผลกำไรให้กับทุกกลุ่มบริษัท รวมถึงบริษัทแม่ด้วย

สาเหตุที่ไม่ร่วมมือกันในปีอื่นๆ เพราะถูกหักหลัง ต้องการเอาคืน เกิดความระแวงต่อกัน ต้องการให้บริษัทของตนเองได้กำไรมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้มากขึ้น จะไปเพิ่มความร่วมมือในกลุ่มย่อยให้เกิดการหักหลังกลุ่มอื่นๆ และเกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ให้กลุ่มของตนได้ผลประโยชน์มากที่สุด ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวม เพราะไม่มีผลต่อบริษัทของตัวเอง จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการเล่นเกมในครั้งนี้ ผู้เล่นจะแสดงพฤติกรรมของการแข่งขันมากกว่าที่จะแสดงพฤติกรรมการร่วมมือกัน

เอกสารอ้างอิง : ถวิล   ธาราโภชน์. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, 2532
จัดทำโดย นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข และคณะ นักศึกษา ป.บัณฑิต วิชาชีพครู



Leave a Comment