ความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy) หมายถึง “ความเข้าใจในธรรมชาติและบทบาทของพลังงานในจักรวาลและชีวิตของเรา นำไปสู่การใช้ความรู้ ความเข้าใจเพื่อตอบคำถามและแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน”
1.รู้เรื่องระบบพลังงานและสามารถเรียนรู้เรื่องพลังงานได้ตลอดชีวิต
2.ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้พลังงานโดยคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา
3.สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เกี่ยวกับพลังงานได้
4.รู้เรื่องการจัดหาและใช้พลังงาน
5.ใช้พลังงานอย่างมีเหตุผล
หลัก 7 ประการ เรื่องความตระหนักรู้เรื่องพลังงาน
1.พลังงานเป็นเรื่องจับต้องได้และวัดค่าได้ทางวิทยาศาสตร์ (Physical Science)
2.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของโลกเป็นผลมาจากการไหลเวียนพลังงานที่เกิดจากดวงอาทิตย์และภายในโลก (Earth Science)
3.ห่วงโซ่อาหาร คือ กระบวนการเปลี่ยนรูปและจัดเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ (Life Science)
4.การใช้พลังงานของมนุษย์ต้องจัดหาและผลิตจากแหล่งต่างๆ (Engineering Technology and Practice)
5.การตัดสินใจด้านพลังงานขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมือง และปัจจัยทางสังคม (Decision)
6.ปริมาณการใช้พลังงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม สภาพสังคมและนวัตกรรมของเทคโนโลยี (Behavior)
7.คุณภาพชีวิตของมนุษย์ในสังคมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่เหมาะสมด้านพลังงาน (Quality of Life)
บุคคลที่มี “ความตระหนักรู้ด้านพลังงาน” หรือ Energy Literacy จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติ ต่อไป
ในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีเรื่อง พลังงาน ที่นักเรียนต้องรู้เป็นพื้นฐาน มี 2 เรื่อง คือ (1) เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม และ (2) พลังงานทดแทน ส่วนในระดับ ม.ปลาย ในวิชาฟิสิกส์ มีเรื่อง พลังงาน, พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งคุณครูสามารถจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิด “ความตระหนักรู้ด้านพลังงาน” หรือ Energy Literacy ได้
เรียบเรียงจาก
1.วารสาร Energy Plus ฉบับประจำเดือน ต.ค. – ธ.ค. 2556
2.http://activity.energy.go.th/ppp/3243
ขอบคุณภาพประกอบจาก
1.https://csrs.ku.ac.th/moodle/pluginfile.php/971/course/section/347/cover.jpg
2.https://pbs.twimg.com/media/DIZvt8YW4AAcef6.jpg