เจ้าของผลงาน : นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ครูโรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จังหวัดสุรินทร์
รางวัล : ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับคุณภาพดีมาก ลำดับที่ 1 (ชนะเลิศ) และได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรนำเสนอด้วยปากเปล่า (Oral Presentation) ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “การยกระดับคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2558” National Conference “Upgrading the Quality of Science Education 2015” วันที่ 12-13 กันยายน 2558 ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
การวัดความยาวเส้นรอบวงโลกในแนวเส้นแวงของ Eratosthenes (276-194 ปีก่อน ค.ศ.) ใช้การจับคู่สองตำแหน่งใดๆ ในแนวเส้นแวงเดียวกัน คำนวณจากการวัดระยะห่างของสองตำแหน่งและผลต่างของมุมที่แสงอาทิตย์ตกกระทบเสากำเนิดเงาในเวลาเที่ยงวัน ด้วยหลักการดังกล่าว ในวันวิษุวัต ซึ่งดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นศูนย์สูตรโลก การวัดความยาวเส้นรอบวงโลกสามารถทำได้โดยการวัดระยะจากตำแหน่งใดๆ เทียบกับเส้นศูนย์สูตรโลกและวัดมุมที่แสงอาทิตย์ตกกระทบเสากำเนิดเงาในเวลาเที่ยงวันได้ ครู นักเรียนและนักศึกษา จำนวน 18 ทีม (67 คน) ได้เรียนรู้จากเนื้อหาที่มีการประยุกต์ใช้สื่อสังคม (Social Media) ที่ออกแบบไว้ที่ www.astroeducation.com และร่วมทำปฏิบัติการวัดความยาวเส้นรอบวงโลกในวันวสันตวิษุวัติ ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2557 จากแต่ละพิกัดภูมิศาสตร์ของโลก (ไทย-ลาว-นิวซีแลนด์) ผลการทำปฏิบัติการพบว่า การคำนวณความ ยาวเส้นรอบวงโลกของแต่ละทีม มีค่าคลาดเคลื่อนระหว่าง 0.02-12.50 % ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เมื่อเทียบกับความคลาดเคลื่อนของ Eratosthenes ที่ 15.60% โดย 82.32% ของผู้เข้าร่วม ปฏิบัติการ สามารถวัดระยะทางจากพิกัดของตนเองเทียบกับเส้นศูนย์สูตรโลกด้วยโปรแกรม Google Earth อีก 17.68% ใช้วิธีเทียบจากแผนที่และพิกัดเส้นรุ้ง ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นถึงการใช้สื่อ สังคม เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนดาราศาสตร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
คำสำคัญ : Eratosthenes Method, การวัดความยาวเส้นรอบวงโลก, การใช้สื่อสังคม
ดาวน์โหลด >>คลิกที่นี่ ไฟล์ PDF>> [โปสเตอร์ผลงาน ปฏิบัติการวัดความยาวเส้นรอบวงโลกในวันวสันตวิษุวัติ ของครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข]