หลักสูตรหาเสียงเลือกตั้งออนไลน์ การใช้เทคโนโลยีดิจัลหาเสียงเลือกตั้ง ดิจิทัลสำหรับนักการเมือง

สัปดาห์นี้ “เดลินิวส์ออนไลน์” พาไปทำความรู้จักหลักสูตร “การเรียนหาเสียงเลือกตั้งออนไลน์” ในยุค 4.0 ที่นักการเมืองรุ่นใหม่ต้องใช้ดิจิทัลเข้าถึงประชาชน จะได้คะแนนเสียงหรือไม่ไปติดตามกัน 

Digital Disruption” คือสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่ เข้าไปเปลี่ยนแปลงทุกวงการตามที่เป็นข่าวไม่ว่าธนาคาร หนังสือพิมพ์ ธุรกิจเอสเอ็มอี นักการเมืองเองก็กำลังปรับตัวเพื่อให้สามารถรักษาเก้าอี้ในเขตพื้นที่ลงรับสมัครไว้ให้ได้ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล

เดลินิวส์ออนไลน์” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.สุรินทร์ บำรุงผล เจ้าของโรงเรียนไทยแลนด์ดิจิทัลเวิลด์ (Thailand Digital World School) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จดทะเบียนเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช) กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นโรงเรียนแรกของประเทศไทยที่ผลิตหลักสูตรพัฒนานักการเมืองไทยให้เท่าทันกับดิจิทัลวิธีการหาเสียงเลือกตั้งด้วย “Digital Tools”

คิดยังไงถึงทำหลักสูตรนี้ขึ้นมา

จากการที่ผมได้เป็นสมาชิกของสมาคมที่ปรึกษาด้านการเมืองสหรัฐอเมริกา (AAPC- American Association of Political Consultants) ได้เรียนรู้และมีข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองทั้งประเทศอเมริกาและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในมุมของการใช้โซเชียลมีเดียกับการสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จักและรับรู้ผลงานที่ได้ทุ่มเทให้กับท้องถิ่นรวมถึงวิธีการหาเสียงในรูปแบบต่างๆ ที่ยุค Digital echnology เข้ามามีบทบาทมาก จึงคิดที่จะรวบรวมปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมคนไทยแล้วนำมาถ่ายทอดให้กับนักการเมืองไทย

วิธีการถ่ายทอดหลักสูตรการเรียนการสอนให้นักการเมืองไทยทำในรูปแบบไหน

ตอนแรกทางโรงเรียนก็เปิดสอนสดตามสถานที่ในแต่ละจังหวัดใหญ่ๆ แต่ปัญหาที่ไม่ได้คิดมาก่อน คือผู้ที่เข้าร่วมห้องเรียนมักเป็น “คู่แข่ง” ต่อกันในการสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้พวกเขาอึดอัดไม่สะดวกที่จะเรียน เราจึงได้พัฒนาเป็น “คอร์สเรียนหาเสียงเลือกตั้งออนไลน์” จัดทำเป็นวีดีโอ ซึ่งสามารถเปิดดูเป็นการส่วนตัวเมื่อไหร่ก็ได้แค่มีอินเตอร์เน็ต

การเรียนหาเสียงเลือกตั้งออนไลน์นี้สามารถปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมคนไทยได้อย่างไร

เครื่องมือในการสร้างตัวตนหรือหาเสียงนั้นมันจะแตกต่างไปแต่ละประเทศ อย่างนักการเมืองอเมริกาชอบใช้ “twitter” หรือ “WhatsApp” ในการแชท แต่ของไทยไม่ใช่ เพราะคนไทยชอบใช้ “Line App” เราก็ต้องปรับเพื่อให้ผู้เรียนเขาได้ประโยชน์หรือเรื่องอื่นๆ เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในชุมชน การช่วยเหลือประชาชนยามมีเหตุภัย เป็นต้น

ดังนั้นดิจิทัลไม่ใช่ตอบโจทย์เสียทีเดียวสำหรับวัฒนธรรมไทย ยังมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเขายังไม่มีเวลาพอที่เล่นโซเชียลเพราะต้องทำมาหากิน และวัยวุฒิก็เป็นข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นเราจึงนำเอาโซเชียลผสมผสานกับวิถีเดิมเพื่อแนะนำให้นักการเมืองไทยของเรายังต้องใช้ทั้ง 2 รูปแบบไปพร้อมกัน

คิดว่านักการเมืองจะได้อะไรจากการเรียนออนไลน์หลักสูตรนี้

แน่นอนครับ ถ้าเราติดตามข่าวการเมืองต่างประเทศจะเห็น “ปรากฏการยักษ์ล้ม” มากมาย หมายความว่าเจ้าของตำแหน่งเดิมยังเข้าใจว่าตนเองยังเป็นที่นิยมอยู่ ก็ไม่ผิด…แต่ผู้มีสิทธิออกเสียงรายใหม่เข้ามาตลอดเวลาตามอายุ ประกอบกับคนรุ่นใหม่ คนหนุ่มคนสาวกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่และเป็นกลุ่มที่ใช้ “Digital” เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ กลุ่มนี้แหละครับที่ทำให้ “ยักษ์ล้ม”

ยกตัวอย่างที่ประเทศออสเตรีย ฝรั่งเศส หรือนิวซีแลนด์ล่าสุดซิครับ ผู้ได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส อายุ 39 ปี นายกนิวซีแลนด์ ผู้หญิง 37 ปี นายกออสเตรีย อายุ 31 ปี ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาด้วย “Digital” วิธีที่ประหยัดแต่ทรงพลัง หากใช้เป็นระบบจะมีประสิทธิภาพมากครับ 

แล้วระหว่างนักการเมืองในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่กับนักการเมืองท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างไร

เดิมทีผมว่า นักการเมือง ในเมืองใหญ่ได้เปรียบ เพราะได้เข้าร่วมกิจกรรมหรือโปรแกรมการพัฒนาบุคคลต่างๆ มากมาย ทั้งที่รัฐจัดให้หรือเอกชนจัด แต่ นักการเมืองท้องถิ่น ที่อยู่ไกลๆ ไม่ได้รับความเท่าเทียมกันของการพัฒนา เนื่องจากอยู่ไกล การเดินทางและค่าใช้จ่าย ทำให้การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ล้วนกระจุกอยู่แต่เขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพ ตรงนี้ทางโรงเรียนเราได้มีส่วนในการช่วยให้นักการเมืองไทยทุกคน ทุกแห่งล้วนมีความเท่าเทียมกัน ในอนาคตอันใกล้เราจะเพิ่มหลักสูตรการพัฒนาตนเองทุกอย่างที่กรุงเทพมีให้คนต่างจังหวัดมีเหมือนกัน

ตอนนี้หลักสูตรที่โรงเรียนสอนอยู่มีวิชาอะไรบ้าง

เราวิเคราะห์แล้วเห็นว่าแพลตฟอร์มที่สำคัญในช่วงแรกที่ต้องมีก่อน คือ Line@ สำหรับนักการเมืองไทย ตามด้วย Facebook – Youtube – Instagram – Twitter – Website & Blog สำหรับนักการเมืองไทย หลักจากนั้นก็จะมีเสริมในเรื่องการสร้างสมาชิกหรือผู้ติดตามในเขตพื้นที่ลงรับสมัคร, เคล็ดลับวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง, แนวทางการสร้างคอนเทนท์ของนักการเมืองในโซเชียลต่างๆ เป็นต้น

หลังจากนั้นเราจะทำวิจัยเพื่อค้นหาความต้องการและสิ่งที่จำเป็นที่ นักการเมืองไทย ควรรู้นำมาสร้างเป็นบทเรียนไปเรื่อยๆ คือมันต้องเปลี่ยนเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่ไม่ต้องห่วงเราจะตามติดและค้นคว้าหามาเพื่อให้นักการเมืองไทยทุกท่านทันยุคทันเหตุการณ์ตลอด หากต้องการรับข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เป็นประโยชน์จากเรา แอดเป็นเพื่อนได้ที่ไลน์ = @Politicians

ที่มาคอลัมน์ : Talk Online โดย “ชญานิษฐ คงเดชศักดา”
ที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/626317



Leave a Comment