Anantasook.Com

กระบวนการตัดสินใจที่ดี 5 ขั้นตอน ความหมายของกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการตัดสินใจของศักดิ์อนันต์ อนันตสุข (2554)

decisionกระบวนการตัดสินใจของ ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข (2554) จากวิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006) มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดประเด็น (I) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (S) เสนอทางเลือก (P) ประเมินทางเลือก (E) และตัดสินใจเลือกทางเลือก (D) ทั้งนี้ ขั้นตอนของการตัดสินใจและการนิยามความหมายของกระบวนการตัดสินใจ มีความสอดคล้องกับกระบวนการตัดสินใจของนักการศึกษาหลายท่าน ดังแสดงในตาราง

ตารางที่ I การวิเคราะห์ความสอดคล้องของกระบวนการตัดสินใจของศักดิ์อนันต์   อนันตสุข กับกระบวนการตัดสินใจของนักการศึกษา

กระบวนการตัดสินใจ
ของศักดิ์อนันต์   อนันตสุข

ความหมาย

สอดคล้องกับกระบวนการตัดสินใจ
ของนักการศึกษา ดังนี้

1) กำหนดประเด็น (I) ความสามารถในการตระหนักรู้ว่า ตนเองจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ในประเด็นปัญหาหรือประเด็นที่สนใจเรื่องใด
ขั้นที่ 1 ของ Dinklage (1977), ขั้นที่ 1 ของ Bayer Barry K. (1978), ขั้นที่ 1 – 2 ของ Robert & Perkin (1990), ขั้นที่ 1 ของ Plunkett and Atter (1994), ขั้นที่ 1 ของ สิริวุฒิ บูรณพิร (2540), ขั้นที่ 1 ของ กรองแก้ว อยู่สุข (2535), ขั้นที่ 1-3 ของสำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ (2539), ขั้นที่ 1 ของ นวรัตน์ กฤตเวทิน (2539) และขั้นที่ 1 ของ ธิดารัตน์   สร้อยจักร (2552)
2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (S) ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จำเป็นและมากเพียงพอสำหรับการตัดสินใจเรื่องนั้นๆ ขั้นที่ 2 ของ Dinklage (1977) และขั้นที่ 2 ของ สิริวุฒิ บูรณพิร (2540) 
3) เสนอทางเลือก (P) ความสามารถในการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ มาช่วยสร้างทางเลือก ที่สามารถแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ในประเด็นที่สนใจ โดยแต่ละทางเลือกก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขั้นที่  2-3 ของ Dinklage (1977), ขั้นที่ 2 ของ Bayer Barry K. (1978), ขั้นที่ 3-4 ของ Robert & Perkin (1990), ขั้นที่ 2-4 ของ Plunkett and Atter (1994), ขั้นที่ 2-3 ของ สิริวุฒิ บูรณพิร (2540), ขั้นที่ 2 ของ กรองแก้ว อยู่สุข (2535), ขั้นที่ 4 ของสำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ (2539), ขั้นที่ 2 ของ นวรัตน์
กฤตเวทิน (2539), ขั้นที่ 2 ของ ธิดารัตน์   สร้อยจักร (2552)
4) ประเมินทางเลือก (E) ความสามารถในการเปรียบเทียบ โต้แย้งและประเมินข้อดี และข้อเสียในแต่ละทางเลือก ที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือตอบโจทย์ในประเด็นที่สนใจ ขั้นที่ 4 ของ Dinklage (1977), ขั้นที่ 4 – 5 ของ Bayer Barry K. (1978), ขั้นที่ 5 ของ Robert & Perkin (1990), ขั้นที่ 4 ของ Plunkett and Atter (1994), ขั้นที่ 4 ของ สิริวุฒิ บูรณพิร (2540),
5) ตัดสินใจเลือกทางเลือก (D) ความสามารถในการเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อนำไปแก้ปัญหา หรือตอบโจทย์ในประเด็นที่สนใจ ขั้นที่ 5 ของ Dinklage (1977), ขั้นที่ 6 ของ Robert & Perkin (1990), ขั้นที่ 6 ของ Bayer Barry K. (1978), ขั้นที่ 5 ของ Plunkett and Atter (1994), ขั้นที่ 5 ของ สิริวุฒิ บูรณพิร (2540), ขั้นที่ 5 ของสำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ (2539), ขั้นที่ 4 ของ กรองแก้ว อยู่สุข (2535), ขั้นที่ 4 ของ นวรัตน์ กฤตเวทิน (2539) และขั้นที่ 4 ของธิดารัตน์   สร้อยจักร (2552)

เอกสารอ้างอิง
ศักดิ์อนันต์   อนันตสุข. 2554. กระบวนการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาพประกอบจาก http://www.brilliantdecisionmaking.com/images/decision-making.jpg

Exit mobile version