บทคัดย่อ
นิเวศวิทยาวัฒนธรรมปูนาอาณาบริเวณพนมดงรักไทย-กัมพูชา
ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม อาจารย์สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ได้ดำเนินการวิจัยเพื่ออนุรักษ์ปูนา มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ต่อมาได้รับทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เพื่อพัฒนาวิธีการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ และได้สร้างเครือข่ายเลี้ยงปูนาที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในความสะอาด และกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงได้ และในปี พ.ศ. 2559 ได้เริ่มแปรรูปปูนาให้เป็นอาหาร โดยความร่วมมือกับอาจารย์ทางด้านเทคโนโลยีอาหาร และในปี พ.ศ.2560 จึงเริ่มมีข้อมูลว่า แปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง และได้ดำเนินการแปรรูปเป็นอาหาร อาทิเช่น ผงปรุงรสจากปูนา ปูนาอบกรอบรสบาบีคิว น้ำซอสปรุงรสปูนา น้ำพริกตาแดงปูนา และน้ำพริกเผาปูนา เป็นต้น
ตัวอย่างการแปรรูปเป็นน้ำปูนานั้น จะคล้ายกับน้ำปลา ต่างกันที่น้ำปลาเป็นการหมักกระดูกปลาหรือก้างปลา ส่วนน้ำปูนาคือ การหมักกระดอง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่น่าจะมีอนาคตไกลคือ “ผงปรุงรสปูนา” ซึ่งใช้ทดแทนเครื่องปรุงโดยไม่ใช้ผงชูรส นอกจากนี้ ยังพัฒนา “ข้าวเกรียบปูนา” โดยต้องอาศัยความร่วมมือกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องข้าว เพื่อคัดสรรพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำข้าวเกรียบ รวมถึงอาจร่วมมือกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสาหร่าย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รสสาหร่ายด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมและวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม ดาวน์โหลดที่นี่ >> [นิเวศวิทยาวัฒนธรรมปูนาอาณาบริเวณพนมดงรักไทย-กัมพูชา]
ที่มาข่าวและข้อมูล
1. https://mgronline.com/science/detail/9610000083393
2. http://srruir.srru.ac.th:8080/xmlui/handle/123456789/100
ขอบคุณภาพประกอบจาก
1. https://mpics.mgronline.com/pics/Images/561000008683001.JPEG
2. https://mpics.mgronline.com/pics/Images/561000008683005.JPEG