Anantasook.Com

กรอบสมรรถนะแห่งความสำเร็จ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Competency Framework for Southeast Asian School Heads) ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 5 ด้าน ได้แก่

1. การคิดเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม (Strategic Thinking and Innovation) คือ ความสามารถในการจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์ของสถานศึกษา การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม

1.1 การปฏิบัติตามทิศทางยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา

1.1.1 ทำงานร่วมกับสถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา

1.1.2 เป็นผู้นำในการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์

1.1.3 มุ่งเสนอวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาโดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างทั้งในการทำงานและในชีวิตประจำวัน

1.2 การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

1.2.1 ใช้หลักฐานหลากหลายเพื่อสนับสนุนการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาแผนยุทธ์ศาสตร์

1.2.2 มีการทบทวนแผนงาน/โครงการอยู่เสมอ นำผลการดำเนินงานมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

1.3 การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมชั้นนำ

1.3.1 นำกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปยังการพัฒนาและการดำเนินการตามแนวทางใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบและโครงสร้าง

1.3.2 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ยั่งยืนในแผนงานสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่สูงขึ้น

2. ความเป็นผู้นำการจัดการ (Managerial Leadership) คือ ความสามารถในการจัดการทรัพยากรและระบบของสถานศึกษา การบริหารจัดการบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาอย่างยั่งยืน

2.1 การจัดการทรัพยากรและระบบของสถานศึกษา

2.1.1 บริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน

2.1.2 บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้

2.1.3 บริหารจัดการระบบและขั้นตอน

2.2 การจัดการประสิทธิภาพของบุคลากร

2.2.1 บริหารจัดการความต้องการของบุคลากรในสถานศึกษา

2.2.2 สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างมืออาชีพ

2.2.3 ตระหนักถึงประสิทธิภาพของบุคลากร

2.3 การจัดการแผนงานและโครงการของสถานศึกษาที่ยั่งยืน

2.3.1 แสดงให้เห็นถึงทักษะในการจัดการแผนงานและโครงการ

2.3.2 ส่งเสริมแผนงานพื้นฐานของสถานศึกษาและสนับสนุนโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership) คือ ความสามารถในการเป็นผู้นำการดำเนินการตามหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร สร้างสภาพแวดล้อมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การกำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและนำเสนอผลการเรียนรู้ตามแผน

3.1 เป็นผู้นำในการใช้และการปรับปรุงหลักสูตร

3.1.1 จัดการการใช้หลักสูตร

3.1.2 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและแตกต่างตามระดับผู้เรียน

3.2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.2.1 ส่งเสริมกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.2.2 ส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และรวมทั้งส่งเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้

3.2.3 ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพและการเคารพความหลากหลาย

3.3 การกำกับดูแลและการประเมินศักยภาพครู

3.3.1 ใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อการกำกับดูแลและการประเมินผล

3.3.2 ส่งเสริมความเป็นผู้นำของครู

3.4 การจัดการเรียนรู้

3.4.1 ส่งเสริมแนวทางการทำงานเป็นทีมเพื่อการเป็นผู้นำการจัดการเรียนรู้

3.4.2 ส่งเสริมการประเมินเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา

4. ความเป็นเลิศส่วนบุคคล (Personal Excellence) คือ ความสามารถในการจัดการประสิทธิภาพส่วนบุคคล การดำเนินการบนความท้าทายและความเป็นไปได้ และการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

4.1 บุคคลที่มีประสิทธิภาพ

4.1.1. กระทำตนเป็นแบบอย่าง

4.1.2 แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบ

4.1.3 ใช้ชีวิตที่สมดุลและมีสุขภาพดี

4.1.4 ภูมิใจในตัวเอง

4.1.5 สร้างผลงานได้

4.2 การปฏิบัติอย่างเหมาะสมทั้งสถานการณ์ที่ท้าทายและสถานการณ์ที่เป็นไปได้

4.2.1 จัดลำดับความสำคัญ

4.2.2 แสดงความมั่นใจในการจัดการกับความท้าทาย

4.2.3 แสดงทัศนคติที่เต็มไปด้วยพลัง

4.3 การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

4.3.1 รับผิดชอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตนเอง

4.3.2 สนับสนุนค่านิยมและมุมมองของอาเซียน

5. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) คือ ความสามารถในการส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อพัฒนาสถานศึกษา การบริหารพันธมิตรและเครือข่ายการศึกษา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5.1 การส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษา

5.1.1 สร้างความมั่นใจและชี้นำกลุ่ม/ชุมชน ในการพัฒนาสถานศึกษา

5.1.2 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

5.2 การบริหารจัดการความร่วมมือและเครือข่ายทางวิชาการ

5.2.1 สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆการสนับสนุนความร่วมมือของกลุ่มสถานศึกษาและการทำกิจกรรม

5.2.2 ส่งเสริมการสร้างฉันทามติ

5.2.3 จัดการความขัดแย้งและมีทักษะในการเจรจาต่อรอง

5.3 การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

5.3.1 สนับสนุนแผนงานและโครงการของชุมชน

5.3.2 แจ้งการดำเนินการของสถานศึกษากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ

ที่มา : เอกสารประกอบการอบรมผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนคุณภาพ สสวท. 
ที่มาภาพ : https://www.seameo-innotech.org/wp-content/uploads/2020/05/TeachersCompFramework_june2014_575.png

Exit mobile version