Anantasook.Com

[แนะนำ] วิธีการควบคุมพฤติกรรมการก้าวร้าวในชั้นเรียน จากการประยุกต์แนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ คุมเด็กก้าวร้าว

control-classroomจากประสบการณ์การฝึกสอนนักเรียน ของ ANANTASOOK  ขอเสนอวิธีการควบคุมพฤติกรรมการก้าวร้าวในชั้นเรียน โดยอาศัยการประยุกต์มาจากแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

1. ให้ครูระงับพฤติกรรมการก้าวร้าวของนักเรียนทันทีที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมดังกล่าวโดยการตักเตือน หรือสร้างความรู้สึกที่ตรงข้ามกับความก้าวร้าวเป็นความพอใจ และในบางครั้งอาจใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรง เช่น การตำหนิ การตัดคะแนนความประพฤติ การทำทัณฑ์บนจนไปถึง การเชิญผู้ปกครองนักเรียนมาพบที่โรงเรียน
2. ให้บุคคลที่นักเรียนนั้นชื่นชมหรือยอมรับ ซึ่งอาจได้แก่ครู หรือเพื่อนนักเรียนบางคนที่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นตัวแบบ ชี้แนะให้นักเรียนได้ทำตาม เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ดีตามตัวแบบแล้ว ก็ให้รางวัลหรือเสริมแรงในทันที
3. เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้นแล้วก็ค่อยๆ ลดการเสริมแรงที่เป็นวัตถุออก พร้อมทั้งพยายามสร้างให้นักเรียนสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้ และติดตามผลอยู่เสมอ

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ ดังนี้
1. ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ตรงต่อเวลา รับฟังความคิดเห็นของนักเรียน
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนตามความถนัดและความ สามรถของแต่ละบุคคล นักเรียนจะได้เพื่อนและได้ความสนุกสนาน
3. สร้างเจตคติในทางประชาธิปไตยให้แก่เด็ก เช่น เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆตามแบบประชาธิปไตย
4. ให้ความสนใจแก่นักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม ไม่มีอคติ
5. ยกย่องชมเชยนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม
6. ไม่ควรลงโทษนักเรียนทั้งกลุ่ม รวมถึงไม่พูดเยาะเย้ยถากถางหรือประชดประชันนักเรียน
7. ช่วยอำนวยความสะดวกทุกๆด้านแก่นักเรียน เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ สถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ
8. เมื่อเกิดปัญหาระเบียบวินัย คูควรถามตนเองก่อนว่ามีอะไรบกพร่องบ้าง และควรเปลี่ยนแปลงกฎหรือระเบียบของโรงเรียนให้เหมาะสมกับกาลเวลาและสถานการณ์
9. เมื่อนักเรียนแสดงการก้าวร้าว ควรศึกษาความต้องการและค้นหาสาเหตุแต่เนิ่นๆไม่ควรปล่อยทิ้งไว้และควรประสานงานกับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอชี้แจงให้เข้าใจถึงอนาคตของนักเรียน
10. จัดให้มีบริการแนะแนวในโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้นำความรู้ความสามารถ ของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนได้ตรง ตามศักยภาพ และให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนที่มีปัญหา ทั้งด้านการเรียน การตัดสินใจและการปรับตัวให้เหมาะสม

ที่มา : รายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข

Exit mobile version