ลักษณะทั่วไปของสาหร่ายสาย
มีลักษณะทัลลัสเป็นท่อติดต่อกันตลอด ประกอบด้วย ไรซอยด์ (rhizoid) ทําหน้าที่ยึดเกาะคล้ายราก ส่วนที่ทอดแขนงซึ่งมีลักษณะคล้ายไหล เรียกว่า “สโตลอน” (stolon) ส่วนที่ทําหน้าท่ีสังเคราะห์แสง มีลักษณะคล้ายใบ เรียกว่า “รามูลัส” (ramulus) เป็นแท่งกลมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ตรงปลายพองออก เป็นกระเปาะ สีเขียวสด ซึ่งมีรูปร่างเป็นเส้นเหมือนขนนก ขึ้นบนพื้นกรวด ปนทรายและโคลนในคลองบริเวณป่าชายเลน
ในประเทศไทยจะพบสาหร่ายสกุล Caulerpa ขึ้นบนก้อนหินและซาก ปะการังในเขตน้ําขึ้นน้ําลง หรือในคลองสาขาตามป่าชายเลน ตามพื้นโคลน หรือโคลนปนทราย และอาจพบขึ้นตามรากแสม โกงกาง พบได้ในบริเวณน้ํา ทะเลค่อนข้างใส ท้องน้ําท่ีมีทราย น้ําสะอาดและคลื่นลมไม่รุนแรงนัก มักพบ ที่ความลึกประมาณ 2-5 เมตร
สาหร่ายชนิดนี้มีการเจริญเติบโตหนาแน่นในบริเวณท่ีมีปริมาณ สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน (แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท) และธาตุ อาหารอนินทรีย์อื่นๆ สูง และข้ึนอยู่ได้ในช่วงความเค็มค่อนข้างแคบ โดยสามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงความเค็ม 30–40 ppt (ค่าความเค็มของน้ํา วัดเป็นหน่วย ppt (part per thousand) โดยท่ัวไปแหล่งน้ําจืด จะมีปริมาณ เกลือน้อยกว่าร้อยละ 0.1 หรือน้อยกว่า 1 ppt ส่วนแหล่งน้ําเค็มจะมีเกลือ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.5 หรือ 35 ppt) “การพบสาหร่ายขนนกในทะเลสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพน้ําได้” เพราะสาหร่ายชนิดน้ีจะข้ึนในน้ําท่ีสะอาดเท่าน้ัน ถ้าแถบไหนมีบ่อกุ้งมักจะไม่พบสาหร่ายขนนก”
คุณค่าของสาหร่ายสาย
จังหวัดในพื้นที่ทางภาคใต้จะเรียก “สาหร่ายสาย” หรือ “สาหร่ายขนนก” ว่า สาย, ลาโต๊ส หรือลาสาย ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รับประทานเป็นผักจิ้ม สามารถหาซื้อได้ในตลาด พบมากในช่วงฤดูแล้ง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม และจะเร่ิมลดลงเมื่อเข้าหน้าฝน ช่วงเดือน มิถุนายน-ตุลาคม
สาหร่ายสายสามารถบริโภคได้ท้ังแบบสดคล้าย ผัก ใช้ประกอบอาหารหรือแปรรูปก็ได้ เช่น แกงจืด สาหร่าย ยําสาหร่าย ไอศกรีมสาหร่าย คุกกี้สาหร่าย และน้ําสาหร่าย เป็นต้น กล่าวได้ว่า “สาหร่ายสายนั้น มีคุณค่าทางอาหารและยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย”
สรรพคุณที่โดดเด่นของสาหร่ายสาย คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง มีวิตามินที่ร่างกายต้องการ เช่น เอ บี ซี ดี อี และเค มีไอโอดีน, แมกนีเซียมช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทํางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีแคลเซียมบํารุงกระดูก โปตัสเซียมควบคุมการทํางานของ เซลล์และสมดุลของน้ําในร่างกาย แร่เหล็กและทองแดงช่วยในการสร้างเม็ด เลือด สังกะสีช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน อีกทั้งมีกรดอะมิโนหลายชนิดท่ีพืชบกไม่มี มีฤทธ์ิในการรักษาโรคลําไส้อักเสบ รักษาโรคตับอักเสบเพราะช่วยในการ สมานแผล เป็นอาหารท่ีเหมาะกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน และหัวใจ
วิธีการเก็บสาหร่าย
ในช่วงน้ําแห้งใช้มือเจ๊ย (จ้วง) แล้ว ค่อยๆ ช้อนข้ึนมาเพื่อป้องกันไม่ให้สาหร่าย ขาด แต่จะต้องติดรากของสาหร่ายมาด้วย เพื่อเป็นการเก็บรักษาสาหร่ายให้อยู่ได้นาน ที่สุด (ประมาณ 4-5 วัน) ถ้าในช่วงน้ํามาก หรือบริเวณที่น้ําลึก ใช้วิธีการดําน้ำลงไป