Anantasook.Com

อาชีพแห่งอนาคตอาเซียน 8 อาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน

จากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (7-8 ตุลาคม 2546) ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้าน คุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 8 อาชีพ โดย 8 วิชาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี (Mobility of professions in ASEAN community) ได้แก่
            1. อาชีพวิศวกร  (Engineering Services)
            2. อาชีพพยาบาล  (Nursing Services)
            3. อาชีพสถาปนิก  (Architectural Services) 
            4. อาชีพการสารวจ  (Surveying Qualifications)           
            5. อาชีพนักบัญชี  (Accountancy Services)
            6. อาชีพทันตแพทย์  (Dental Practitioners)
            7.  อาชีพแพทย์  (Medical Practitioners)
            8.  อาชีพการบริการ/การท่องเที่ยว  (Tourism)
asean-career
ทั้งนี้ การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 8 อาชีพนั้น มีผลดีต่อประเทศไทย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพดังกล่าว ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำ ให้ผู้จบ การศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 8 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น

จากเดิมที่ตลาดมีแค่การให้บริการประชาชน 63 ล้านคน เป็นตลาดของประชาชนร่วม 600 ล้านคนใน 10 ประเทศ อาเซียน นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้รวมทั้งไทยอยู่ในทิศทางที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทั้ง สิ้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง และโดย ภาพรวมคุณภาพของผู้จบวิชาชีพทั้ง 8 ในไทยก็สูงอยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสในการหางานมีสูง

ในขณะที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมาตรฐานของอาชีพทั้ง 8 นั้น คงต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งรัดกุมเป็นอย่างมาก เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพ ในสาขาอาชีพนั้นๆ ในไทยให้คงเดิม หรือยกระดับให้สูงขึ้นไปอีกป้องกันมิให้เกิดการอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐานของ องค์กรในการผลิตคน บางแห่งที่อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ในการเร่งผลิตคนในวิชาชีพเหล่านั้น จำนวนมากเพื่อตอบสนอง ตลาดที่ใหญ่ขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบทางลบโดยรวมอีกปัญหาที่อาจะตามมาอีกอย่างคือ บางวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์ ถ้าแก้ปัญหาไม่ ทันท่วงทีในเวลาอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาเรื่องการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในสายวิชาชีพทันตแพทย์อย่างแน่นอน      

ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้ามาประกอบอาชีพทั้ง 8 อาชีพ ในไทยด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยใน เรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของ คนไทยเอง

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ จำนวนคนในวัยทำงานกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อมูลว่าอีกประมาณสิบปี ข้างหน้า สัดส่วนคนในวัยทำงานจะต่ำกว่าประชากรผู้สูงอายุมาก นี่จะทำให้เกิดการขาดแคลน แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีพทั้ง 8 นั้น ผู้ที่จบจากสายวิชาชีพดังกล่าวจะประกันได้ว่าไม่น่าจะมีใครที่ตกงาน เพราะมีตลาดใหญ่มากรองรับทั้งในไทย และในประเทศอาเซียน

ข้อตกลงเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 8 อาชีพในปี 2015 (2558) แม้ จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งในด้านการที่คนของเราไปทำงานบ้านเขา และการที่คนบ้านเขามาทำงานในบ้านเรา เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได้

ความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้เขียนบล็อก : นักเรียนและนักศึกษา จึงควรวางแผนการเรียนและอนาคตการทำงานให้กับตนเองเพื่อสร้างโอกาสในการทำงานของตนเอง โดยนอกจากความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพทั้ง 8 วิชาชีพแล้ว ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศอาเซียนนั้นๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมตนเองให้มีความพร้อม เพื่อโอกาสการได้งานทำในอนาคต

ที่มา : http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_career.htm
ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/ims/images/20130316131841%20copy.jpg

Exit mobile version