Anantasook.Com

บาปทางวิชาการ การขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ ลิขสิทธิ์งานวิจัย การประพฤติผิดทางงานวิจัย

นับตั้งแต่โบราณกาลมา ทั้งศิลปินและนักเขียนได้มีการยืมข้อความ รูปภาพ และความคิดมาจากผู้ที่กระทำมาก่อนแล้วในอดีต โดยปราศจากการอ้างอิง ความสามารถในการยอมรับการยืมนี้ มีการแปรเปลี่ยนไปตามประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงวิชาการทางซีกโลกตะวันตก ปัจจุบันมีความเข้มงวดในเรื่องการขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง เพราะเห็นว่า การไปนำข้อความหรือความคิดของผู้อื่นมาเป็นของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงถึงนั้น เป็นสิ่งผิดและเป็นการขัดขวางไม่ให้ผู้อ่านสามารถตามอ่านต้นตอของแหล่งข้อมูลนั้นๆได้ และนี่คือ “บาปทางวิชาการ” (… เป็นการโจรกรรมทางวรรณกรรม ; ผู้เขียน)

การขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ เกิดขึ้นในงานวิจัยแทบทุกสาขาวิชา อาทิเช่น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์ประยุกต์, สังคมศาสตร์, มนุษยศาสตร์, ศิลปกรรมศาสตร์, และสาขาวิชาชีพต่างๆ

การทุจริตทางวิชาการ คืออะไร ?
ตามนโยบายใหม่ที่กำหนดเกี่ยวกับการประพฤติผิดทางงานวิจัย ปรับปรุงในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) นิยามว่า 

[การประพฤติผิดทางวิจัยคือ] การทำปลอมขึ้น, การทำอย่างไม่ซื่อตรง, หรือการขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ ในข้อเสนอ การดำเนินการ หรือ การทบทวนงานวิจัย หรือ ในการรายงานผลการวิจัย. . .
การขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ คือ การนำความคิด, กระบวนการ, ผลการวิจัย, หรือข้อความของผู้อื่น มาใช้โดยไม่ได้ให้เครดิตกับเจ้าของงาน, ทั้งนี้รวมถึงต้นฉบับตัวเขียนหรือข้อเสนองานวิจัยของผู้อื่นที่ยังไม่มีการเปิดเผยหรือเผยแพร่อีกด้วย]

ปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มความรู้ทั่วไป (Common knowledge) เกี่ยวกับการอ้างถึง (Citations) และการเขียนรายการอ้างอิง (References) เข้าไปในการเรียนการสอนทางวิชาการด้วย ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีผู้แต่งหนึ่งคนที่ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการอ้างถึง คือ Darwin’s Origin of Species เพื่อเป็นการแนะนำให้ทราบถึงแนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตามหลักธรรมชาติ ตามความเห็นของผม ถ้าเป็นหลักความจริง (Facts) หรือทฤษฎี (Theory) ที่เรียนอยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี หรือ ปีหนึ่งในระดับปริญญาโท นับเป็นความรู้ทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องมีการอ้างถึง

การขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ กับ ลิขสิทธิ์
ในกรณีของการขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ ไม่จำเป็นต้องเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เสมอไป ผู้เขียนคนหนึ่งสามารถขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการคัดลอกเอกสารที่ตีพิมพ์มานานหลายปีมากแล้ว จนกระทั่งปัจจุบันเป็นสาธารณสิทธิไปเรียบร้อยแล้ว ในทางกลับกัน ผู้เขียนคนหนึ่งสามารถละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยปราศจากข้อกล่าวหาว่าเป็นการขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ ด้วยการอ้างอิงถึง ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ (Fair Use)

อ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิก >> [เจ็ดแนวทางสู่การขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ]

ข้อเสนอแนะสำหรับนักวิจัย : ในการทำวิจัย หรือสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ นักวิจัยก็ต้องยืนอยู่บนสิ่งที่มีผู้ศึกษามาก่อน เปรียบเสมือน การยืนอยู่บนไหล่ยักษ์ ดังนั้น เพื่อป้องกันการประพฤติผิดทางวิจัย นักวิจัยจึงควรมีการอ้างอิงผลงานของผู้ที่ทำไว้ก่อนแล้ว จึงจะถือเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ; ผู้เขียน

วาทะจุดประกายถ้าฉันสามารถมองได้ไกล นั่นก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์ [If I have seen further it is by standing on the shoulders of giants.] ไอแซก นิวตัน, ปี 1676 นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวอังกฤษ

ที่มา : กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ : ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) กลุ่ม ชุมชนคนวิจัย เรื่อง เจ็ดแนวทางสู่การขโมยคัดลอกผลงานทางวิชาการ: การจัดการข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความประพฤติผิดทางงานวิจัย โดย อาจารย์สุธาทิพย์ เกียรติวานิช และอาจารย์อังคณา แวซอเหาะ วันที่ 9 มีนาคม 2555 ณ ห้องพักอาจารย์กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ห้อง 1208) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ภาพประกอบจาก : http://oliveharveycollegelibraryguides.pbworks.com/f/1337012180/plagiarism.gif

Exit mobile version