วงดนตรีกันตรึม พงษ์ ชำเบง สืบทอดกันตรึมเซราะกราว รับงานเล่นกันตรึม มันส์ทุกเพลง ราคาตามใจเจ้าภาพ

นายศรพงษ์ สมยิ่ง หรือ พงษ์ ชำเบง เจ้าของวงดนตรีกันตรึม  น้องใหม่ของชาวอีสานใต้  และผลงานเพลงใต้ดิน ร้องเอง อัดเอง เผยแพร่เองทาง Youtube รับงานแสดงกันตรึม ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน โกนจุก บวชนาค หรืองานเทศกาลต่าง ๆ  ในทุกท่วงทำนอง ทั้งอ่อนหวาน สนุกสนาน และโศกเศร้า ราคาตามใจเจ้าภาพ สนใจทีมงานเล็กแต่มากด้วยคุณภาพ น้ำหวาน เมืองสุรินทร์ และพงษ์ ชำเบง ติดต่อวงดนตรีกันตรึม พงษ์ ชำเบง โทร 0870402025, 0879668905 (ฝากผลงานของลูกศิษย์ฝีมือคุณภาพคนนี้ ไว้ในอ้อมใจของทุกท่านด้วยครับ) 

pong-chambeng
ประวัติความเป็นมาของกันตรึม
กันตรึม หรือ โจ๊ะกันตรึม เป็นวงดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ หรือชุมชนชาวเขมรสูง ซึ่งเป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ถือกันว่า กันตรึม เป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวกันว่า สืบทอดมาจากขอมโบราณ เดิมทีการละเล่นแบบนี้ ใช้สำหรับขับประกอบการแสดงบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี ประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้ โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ จึงรักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรม แต่ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงโดยทั่ว ๆ ไป

ลักษณะเพลงกันตรึม เป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ที่เป็นเอกลักษณ์ของกันตรึม จะมีกลองที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีเสียงจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม จึงเป็นที่มาของวงดนตรีที่เรียกว่า กันตรึม

เครื่องดนตรีกันตรึม ประกอบด้วย ปี่อ้อ 1 เลา ขลุ่ย 1 เลา ซอกันตรึมหรือซอกลาง 1 คัน กลองกันตรึม 2 ลูก เครื่องประกอบจังหวะมีฉิ่ง ฉาบ กรับ ทำนองเพลงใช้แม่บทเพลงพื้นบ้าน เช่น มะโล้บโดง ผการัญเจก โอมตุ๊กสืบทอดกันมาจากพ่อครูแม่ครูเพลง เนื้อเพลงที่ใช้ร้องจะเป็นภาษาเขมรสูงมีเนื้อหาที่สะท้อนถึง ความเป็นมา ความรักและการบรรยายให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่

ผู้เล่นกันตรึม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย จำนวน 4-5 คน ฝ่ายหญิงส่วนใหญ่จะเข้ามาร่วมรำและร้องบ้างเป็นบางครั้ง

การแต่งกายเล่นกันตรึม แต่งตามประเพณีของท้องถิ่น ผู้ชายใส่เสื้อคอกลม นุ่งโจงกระเบน ผ้าขาวม้าคาดเอว และมีผ้าขาวม้าอีกชิ้นหนึ่งพาดบ่าทั้งสองข้าง ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นแบบเขมร สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอกอาจมีผ้ารัดอกอีกชิ้นหนึ่งรัดอกทับเสื้อหรือแต่งตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น ก่อนจะเล่นกันตรึมจะมีการไหว้ครูก่อน นักดนตรีหันหน้าไปทางทิศตะวันออกวางเครื่องดนตรีและเครื่องสังเวยรวมกันไว้ข้างหน้า เมื่อผู้ที่กระทำพิธีนำสวดคาถาบูชาครูเสร็จจึงจะเริ่มการแสดงต่อไป

เพลงพื้นบ้านกันตรึมนิยมเล่นในโอกาสทั่ว ๆ ไป ทั้งงานที่เป็นมงคล และงานอวมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบุญ งานบวชนาค งานบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ทำบุญฉลองกฐิน งานเฉลิมฉลองปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง และเทศกาลงานบุญต่าง ๆ งานขึ้นบ้านใหม่ ฉลองอาคาร สะพาน สระน้ำ และเล่นตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นในพิธีบวงสรวง เข้าทรง เช่น โจลมม็วต หรือบองบ็อด 

กันตรึมได้รับการสืบทอดแบบมุขปาฐะ (Oral Tradition) ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร กันตรึมพื้นบ้านจึงมีสภาพที่ไม่แตกต่างกับการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ที่กำลังลดความนิยมลงไป ทำให้กันตรึมพื้นบ้านในปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยในขณะเดียวกันวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลเช่น การนำเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาผสมหรือใช้เครื่องดนตรีตะวันตกในรูปแบบวงสตริง หรือเปลี่ยนรูปแบบเป็นเพลงลูกทุ่งมีหางเครื่องมาเต้น และมีการปรับรูปแบบแข่งขันกันตามสมัยนิยมเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น 

pong-soundปัจจุบันยังคงหลงเหลือกันตรึมและมีผู้สืบทอดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เช่น วงของนายโฆษิต ดีสม และน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ แห่งบ้านดงมัน จังหวัดสุรินทร์ คณะปอยตะแบง บ้านปอยตะแบง จังหวัดสุรินทร์ คณะดาวรุ่งพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ ยังมีปรากฏวงกันตรึมในสถาบันการศึกษาเพิ่มขึ้นตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นในหลายจังหวัดในภาคอีสาน รวมถึง วงดนตรีกันตรึมเซาะกราว หรือวงดนตรีกันตรึมพื้นบ้าน ของ พงษ์ ชำเบง ชาวจังหวัดสุรินทร์ด้วย

ตัวอย่างการแสดงสด พงษ์ ชำเบง

สนใจวงดนตรีชุดเล็ก ชุดใหญ่ ตามใจเจ้าภาพ : ติดต่อวงดนตรีกันตรึม พงษ์ ชำเบง และน้ำหวาน เมืองสุรินทร์ : โทร 0870402025, 0879668905

ความรู้เกี่ยวกับกันตรึม : เรียบเรียงจาก :
1. http://www.culture.go.th/subculture4/index.php?option=com_content&view=article&id=24:2013-02-11-15-13-42&catid=50:nationalich2012
2. http://th.wikipedia.org/wiki/วงกันตรึม
3. http://wissanusangketkit.blogspot.com/2011/08/blog-post.html



Leave a Comment