สังคมมิติ การทำสังคมมิติ เทคนิคการตรวจสอบสถานภาพทางสังคมของผู้เรียนในชั้นเรียน ความสัมพันธ์ในชั้นเรียน

สังคมมิติ  เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลภายในกลุ่ม ช่วยชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มและโครงสร้างของความสัมพันธ์โดยภาพรวมของกลุ่มที่ศึกษา  ดังนั้น การทำสังคมมิติจะช่วยให้ครู (และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู) ได้ทราบคุณค่าทางสังคมของนักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียนนั้น ๆ  ทำให้มองเห็นลักษณะการปรับตัวทางสังคมของเด็กว่าใครมีเพื่อนมาก  น้อย  หรือไม่มีเลย  อันจะนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที  นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูได้ทราบว่านักเรียนในห้องนั้น  มีการแบ่งเป็นกลุ่มกี่กลุ่มแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์ต่อกันหรือไม่  ซึ่งจะช่วยให้ครู (และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู) ได้หาทางปรับปรุงให้เด็กนักเรียนในห้องมีความสัมพันธ์กันดีขึ้นไป

ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำสังคมมิติ มาตั้งแต่เป็นนักเรียน เมื่อถูกครูฝึกสอน ทำสังคมมิติในชั้นเรียน และเมื่อเป็นนักศึกษาฝึกสอน ตนเองก็ทำสังคมมิติ ซึ่งเป็นเพียงครั้งเดียวที่ได้ทำ นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาที่มาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่โรงเรียนก็มักจะทำสังคมมิติ จึงคิดว่า สังคมมิติ น่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการฝึกหัด นักศึกษาฝึกสอน ให้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และการพยายามที่จะเข้าใจสังคมของห้องเรียน ที่นักศึกษาปฏิบัติการฝึกสอน (นักศึกษาฝึกสอนทุกคน ควรมีโอกาสในการสำรวจสังคมมิติ)

การทำสังคมมิติ มีขั้นตอน ดังนี้
1.  ขั้นเตรียมการ  ครูจะต้องมีการตรวจสอบความพร้อมเรื่องต่อไปนี้คือ
     (1)  นักเรียนในห้องเรียนนั้นตองมีความคุ้นเคยกันอย่างทั่วถึงก่อน
     (2)  ครูต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียน
     (3)  กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำสังคมมิติ
     (4)  เตรียมแบบสำรวจสังคมมิติ  ซึ่งโดยปกติจะใช้กระดาษที่มีขนาด 3×4  นิ้ว  แต่อาจปรับปรุงได้ตามความสะดวกหรือความเหมาะสม  ในกระดาษนั้นจะมีข้อความที่จะให้นักเรียนได้เขียนชื่อตนเอง และชื่อของเพื่อนที่เลือก อันดับที่ 1, 2, 3

2.  ขั้นดำเนินการสำรวจสังคมมิติ  ในการสำรวจสังคมมิตินั้นครูจะไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแต่ละทำการสำรวจในเวลาที่ต้องการเลย  ท่าทีครูขณะสำรวจสังคมมิติจะต้องเป็นไปตามปกติไม่เคร่งเครียดหรือเป็นพิธีรีตอง  และครูควรชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการตอบพร้อมทั้งให้ความมั่นใจคำตอบของเขาจะไม่มีใครได้อ่านนอกจากครูเท่านั้น  นอกจากนี้อาจต้องอำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้มีรายชื่อเพื่อนทุกคนในห้อง  โดยอาจจะเขียนไว้บนกระดานดำหรือพิมพ์รายชื่อแจก  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลงลืมเพื่อนบางคนไป  การสำรวจสังคมมิติจะดำเนินการดังนี้
     (1)  กำหนดสถานการณ์หรือตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนเลือกเพื่อน ตามสถานการณ์ที่กำหนด  เช่น  “ถ้าครูจะแบ่งกลุ่มให้ทำงานนักเรียนอยากให้เพื่อนคนไหนมาร่วมกลุ่มบ้างเรียงลำดับตามความชอบมา 3 คน”  เมื่อนักเรียนตอบลงในแบบสำรวจสังคมมิติที่แจกให้แล้วให้นำมาส่งครู
     (2)  นำกระดาษคำตอบของนักเรียนแต่ละคนไปลงข้อมูลในตารางแสดงผล  ดังตัวอย่าง  ซึ่งสมมุตินักเรียนในห้องทั้งหมด  10  คน

ตัวอย่างตารางแสดงการเลือกเพื่อนในการทำงานกลุ่ม

ผู้เลือก

ผู้ที่ได้รับเลือก

 

1. A

2. B 3. C 4. D 5. E 6. F 7. G 8. H 9. I

10. J

1. A

    1   3         2

2. B

    2     3 1      

3. C

3           1   2  

4. D

    2     1      

3

5. E 1               3

2

6. F

  1   3     2      

7. G

  2 1     3        

8. H

  3 2          

1

 

9. I

1   2   3          
10. J 1       2   3      

เลือกอันดับแรก

3 1 2 1 2 1

เลือกอันดับที่สอง

1 4 1 1 1

2

เลือกอันดับที่สาม 1 1 1 2 2 1 1

1

รวม 4 3 6 1 3 3 4 3

3

     (3)  นำข้อมูลจากตารางแสดงผลไปสร้างเป็นแผนผังสังคมมิติโดย
             (3.1)  กำหนดสัญลักษณ์แทนนักเรียน ชาย (สี่เหลี่ยม) หญิง (วงกลม) และการเลือกแต่ละฝ่าย (แทนด้วยลูกศรทางเดียว) และต่างคนต่างเลือก (แทนด้วยลูกศรสองทาง) และตัวเลข 1,2,3  ที่โคนลูกศรแสดงถึงอันดับการเลือก
             (3.2)  เขียนแผนผังโดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับเลือกมากที่สุดอยู่ตรงกลางและโยงการเลือกไปเรื่อย ๆ  จนครบข้อมูล  ดังตัวอย่าง

แผนผังสังคมมิติแสดงการเลือกเพื่อนในการทำงานกลุ่ม
social-dimension

3.  ขั้นแปลความหมาย
      จากแผนผังสังคมมิติจะช่วยให้ครูทราบถึงความสัมพันธ์ทางสังคมของนักเรียนในห้องเรียน  เช่น  นักเรียนแต่ละคน  เขาเลือกใครบ้าง  ใครเป็นผู้ที่ได้รับเลือกมากที่สุด  ใครได้รับเลือกน้อยที่สุด  หรือใครไม่มีเพื่อนเลือกเลย  การเลือกของนักเรียนทำให้เป็นการแยกเป็นกลุ่ม ๆ  อย่างไร  จากแผนผังดังตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น  พบว่า  C (หมายเลข 3)  ได้รับเลือกจากเพื่อนมากที่สุดเป็นดาราของกลุ่ม  ส่วน H  (หมายเลข  8)  ไม่มีเพื่อนเลือกเลย  ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่ถูกทอดทิ้งหรือโดดเดี่ยว  ซึ่งครูจะต้องหาข้อมูลโดยใช้วิธีการอื่นต่อไปเพื่อให้ทราบว่าทำไม H  จึงเป็นผู้ที่เพื่อนไม่เลือกเข้ากลุ่มเลย  อันจะช่วยให้หาทางช่วยเหลือได้เหมาะสมต่อไป



3 Comments

  1. อุษณีย์ says:

    ขอบคุณค่ะ

  2. ดีๆ says:

    อยากขอชื่อแอทมินค่ะ จะนำข้อมูลตรงนี้ไปเขียนรายงาน จะได้อ้างอิงให้ถูก

Leave a Comment