[ข้อมูล] อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตฯ)

อ.ก.ค.ศ. ย่อมาจาก คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดย คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา” โดยออกนามเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ 

sakanan-ksp
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย
(มาตรา 21)
     1. ประธานอนุกรรมการ ซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเอง จำนวน 1 คน
     2. อนุกรรมการโดยตำแหน่ง 3 คน คือ
           2.1 ผู้แทน ก.ค.ศ.
           2.2 ผู้แทนคุรุสภา
           2.3 ผอ.สพท. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
      3. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน
     4. อนุกรรมการผู้แทน 3 คน คือ
           4.1 ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น
           4.2 ผู้แทนข้าราชการครู
           4.3 ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น

วาระการดำรงตำแหน่งของ อ.ก.ค.ศ.ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
      1. มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ได้อีก แต่ไม่เกิน 2 วาระ (มาตรา 22 ประกอบมาตรา 13 วรรคหนึ่ง)
      2. หากตำแหน่งว่างลงให้ดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งแทนตำแหน่งว่างภายใน 60 วัน หากวาระการดำรงตำแหน่งไม่ถึง 90 วัน จะไม่ดำเนินการก็ได้ ให้อนุกรรมการนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่

อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ตาม มาตรา 23  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2553 กำหนดอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
      1. พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่  รวมทั้งการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งและเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบาย การบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
      2. พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
      3. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
      4. พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
      5. ส่งเสริม สันบสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกาาของเขตพื้นที่การศึกษา
      6. กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
      7. จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
      8. จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.
      9. พิจารณาให้วามเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
      10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย มีขอบข่าย ดังนี้
      1. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546) โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาค หลักการได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน (มาตรา 29)
     2. มีมติบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้สำหรับตำแหน่งนั้น ๆ ตามลำดับที่ในบัญชี (มาตรา 45 ประกอบมาตรา 23)
     3. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ ก.ค.ศ. (มาตรา 47 วรรคหนึ่ง)
     4. มอบให้หน่วยงานการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการตามข้อ 3 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด (มาตรา 47 วรรคสอง)
     5. รับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษในสาขาวิชาใดก็ได้ ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติพิเศษในสาขาวิชานั้น ๆ ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด (มาตรา 48)
     6. ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษอาจคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ ก.ค.ศ.โดยวิธีอื่นได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด (มาตรา 50)
     7. ให้ความเห็นชอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญระดับสูงเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ ก.ค.ศ. ตามที่หน่วยงานการศึกษาเสนอ แล้วขออนุมัติจาก ก.ค.ศ. (มาตรา 51)
     8. ให้ความเห็นชอบในการบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่ง
          8.1 รอง ผอ. สถานศึกษา
          8.2 ผอ.สถานศึกษา
          8.3 รอง ผอ.สพท.
          8.4 ผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา 38 ข. (7)
          8.5 ศึกษานิเทศก์
          8.6 บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2)
          ทั้งนี้ ต้องเป็นข้าราชการ ก.ค.ศ. ในเขตพื้นที่การศึกษานั้น ๆ รวมทั้งตำแหน่งที่มีวิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ
     9. ให้ความเห็นชอบในการบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่งครูผู้ช่วย/ครู/บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในสถานศึกษา (มาตรา 53 (4))
     10. การประเมินให้ข้าราชการ ก.ค.ศ.ในเขตพื้นที่การศึกษามีวิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้มอบหมายแล้ว (มาตรา 54-55)
     11. รับทราบการบรรจุผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่ราชการ (มาตรา 56)
     12. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนตำแหน่ง การย้ายและการโอนของข้าราชการ ก.ค.ศ. ในเขตพื้นที่การศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด (มาตรา 57)
     13. ให้ความเห็นชอบในการรับโอนข้าราชการอื่น มิใช่ข้าราชการ ก.ค.ศ. ตามพระราชบัญญัตินี้ และมิใช่ข้าราชการการเมือง มาเป็นข้าราชการ ก.ค.ศ.ในเขตพื้นที่การศึกษานั้น ๆ (มาตรา 58)
     14. อนุมัติให้ข้าราชการ ก.ค.ศ. ย้ายภายในเขตพื้นที่การศึกษา และย้ายไปนอกเขตพื้นที่การศึกษาและอนุมัติรับย้ายข้าราชการ ก.ค.ศ. ต่างส่วนราชการหรือเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 59)
      15. อนุมัติให้มีการย้ายตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ที่ดำรงตำแหน่งเกิน 4 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด  (มาตรา 60)
      16. อนุมัติให้เลื่อนตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นตำแหน่งที่มิได้กำหนดให้มีวิทยฐานะ (มาตรา 61)
      17. อนุมัติให้ข้าราชการ ก.ค.ศ. ไปปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราว (มาตรา 69)
      18. อนุมัติให้ข้าราชการ ก.ค.ศ. ลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือวิจัย โดยให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีสิทธิได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างการลา ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 73 วรรคสาม (มาตรา 81)
      19. พิจารณาโทษวินัยร้ายแรงข้าราชการ ก.ค.ศ. ในเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 100 วรรคสี่ (2))
     20. พิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงของผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าส่วนราชการหรือ  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาลงมา (มาตรา 104 (1))
     21. พิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการ ก.ค.ศ. ในเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 104 (2))
     22. พิจารณาอนุมัติ การบรรจุและแต่งตั้งผู้ถูกสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้ดำรงตำแหน่งว่างหรือตำแหน่งที่มิต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 109)
     23. มีมติให้ข้าราชการ ก.ค.ศ. ออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติ (มาตรา 110)
     24. มีมติให้ข้าราชการ ก.ค.ศ. ออกจากราชการกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 111)
     25. มีมติให้ข้าราชการ ก.ค.ศ. ออกจากราชการกรณีมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน (มาตรา 112)
     26. พิจารณาอุทธรณ์โทษวินัยไม่ร้ายแรง (มาตรา 121)
     27. พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ข้าราชการ ก.ค.ศ. ในเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 123)

เรียบเรียงจาก [เว็บไซต์ ก.ค.ศ.



Leave a Comment