บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสาร หรือรายงานการวิจัย แบบย่อ โดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อเรื่อง หรืองานวิจัยนั้น โดยเฉพาะสำหรับรายงานการวิจัย ต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ Abstract
ลักษณะทั่วไปของบทคัดย่อ มีดังนี้
1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ
2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับในเนื้อหาสัมมนา
3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา
4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ
5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา
ประเภทของบทคัดย่อ : บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น
การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision) คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่กะทัดรัด มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือมีความซ้ำซ้อนความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปบทคัดย่อจะมีเพียง 1 ย่อหน้า แต่สำหรับเอกสารงานวิจัยมีได้มากกว่า
2. มีความถูกต้อง (Precision) คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity) การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ
การเขียนบทคัดย่องานวิจัย : การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนให้ประกอบด้วยส่วนสำคัญในเนื้อหาบทคัดย่อดังนี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose or Objective) : เป็นการอธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาสำคัญหรือการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษาวิจัยอย่างใกล้ชิด ก็อาจกล่าวไว้โดยย่อ
2. วิธีการ (Methodology) : เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ผลและบทสรุป (Result and Conclusions) : เป็นการกล่าวถึงผลการค้นคว้าทดลอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย โดยการเขียนอย่างกะทัดรัด และให้ความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด หากมีข้อกำหนดใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการวิจัย จะต้องชี้แจงไว้ด้วยส่วนบทสรุป โดยอธิบายความสำคัญของผลการค้นคว้าที่ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น นอกจากนี้อาจมีข้อเสนอแนะ การประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย
เหตุใดที่ควรพยายามเขียนบทคัดย่อที่ดี ?
1. บทคัดย่อที่ดีกว่าจะได้รับความนิยมมากกว่า
2. การเขียนบทคัดย่อที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาและทักษะสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
3. บทคัดย่อที่ดีจะช่วยให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และขยายขอบเขตความรู้ของผู้อื่น
บทคัดย่อที่ดีและได้ผล เป็นอย่างไร?
1. ใช้โครงสร้างแบบ บทนำ-เนื้อความ-สรุป ที่เป็นการนำเสนอถึงหนังสือ/บทความที่ต้องการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ในหนังสือ/บทความอย่างเคร่งครัด
2. ตรวจให้แน่ใจว่าบทคัดย่อแบ่งเป็นย่อหน้าย่อย ๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน รวบรัด และสามารถสื่อความได้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ
3. ใส่การเชื่อมต่อทางตรรกะระหว่างข้อมูลที่ให้มา
4. ใส่เครื่องหมายต่าง ๆ สำหรับจัดรูปแบบข้อมูลลงในบทคัดย่อของคุณด้วย เช่น ชื่อเรื่อง วรรค ตัวแบ่งบรรทัด ย่อหน้า สัญลักษณ์หัวข้อย่อย ตัวหนา ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อความได้อย่างสะดวกง่ายดาย
กล่าวโดยสรุป บทคัดย่อ เป็นการย่อสรุปผลงานวิจัยของผู้เขียนทั้งหมด (5 บท) สรุปย่อเหลือเพียง 1-2 หน้ากระดาษ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รับรู้ สื่อความหมายโดยภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัย
ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัยเชิงคุณภาพ (ผลงานของ ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข)
ชื่องานวิจัย : กระบวนการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006).
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) :
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 40 คน จำแนกเป็นนักเรียนกลุ่มเก่ง 3 กลุ่ม จำนวน 20 คนและนักเรียนกลุ่มอ่อน 3 กลุ่ม จำนวน 20 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ยึดถือกระบวนทัศน์การตีความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ของ Yuenyong (2006) จำนวน 10 แผน แบ่งเป็น 3 สาระได้แก่ สาระปรมาณูเพื่อสันติ สาระอยู่ปลอดภัยกับกัมมันตภาพรังสี และสาระโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับประเทศไทย (2) แบบแผนสำหรับการลงรหัสพฤติกรรมกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งดัดแปลงมาจาก Jung and Nam (2004) และสร้างขึ้นตามกระบวนการตัดสินใจที่ผู้วิจัยเสนอ 5 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดประเด็น (I) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (S) เสนอทางเลือก (P) ประเมินทางเลือก (E) และตัดสินใจเลือกทางเลือก (D) และเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล เพื่อนำมาตีความกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ (1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (2) การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (3) อนุทิน และ (4) ผลงานของนักเรียน
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการตัดสินใจของนักเรียนแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ลักษณะที่มีความคงที่มากขึ้น เนื่องจากมีประสบการณ์ในการทำงานกลุ่มร่วมกัน โดยในสาระปรมาณูเพื่อสันติและสาระอยู่ปลอดภัยกับกัมมันตภาพรังสี นักเรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน จะมีกระบวนการตัดสินใจไม่เหมือนกัน ส่วนในสาระโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับประเทศไทย นักเรียนทุกกลุ่มจะมีกระบวนการตัดสินใจในแต่ละประเด็นเหมือนกัน และดำเนินไปอย่างเป็นลำดับขั้นตามลำดับขั้นกระบวนการตัดสินใจที่ผู้วิจัยเสนอและนักเรียนได้นำความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมมาใช้ในการตัดสินใจ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) : ABSTRACT
This research aimed to study grade 12 students’ decision making process in physics learning about Nuclear Physics through Yuenyong (2006) science technology and society (STS) approach. The participants were 40, grade 12 students in Naraikhampongwitthaya school in Surin, Thailand, 1st semester of 2010 academic year. The subjects were derived into two student groups: excellent and poor ability. This qualitative research regarded interpretive paradigm. Research instruments included intervention instrument and data collection instrument. Intervention instruments included (1) the lesson plan of Nuclear Physics through Yuenyong (2006) science technology and society (STS) approach and (2) a behavioral code recording for ISPED decision making process which adapted from Jung and Nam (2004). Data collection instruments included (1) participant observation, (2) informal interview, (3) journal writing and (4) students’ tasks.
The findings revealed that decision making process of each student group has been changed to look more stable because they have experienced in working groups. In the unit Atomic for Peace and unit Safe for Radioactivity, the excellent and poor ability group are different decision making process and did not proceed regarding to as specified by ISPED decision making process. In unit Nuclear Power Plant in Thailand, all group are similar decision making process and proceed regarding to as specified by ISPED decision making process. The paper will shows that the students apply knowledge of science, technology and society to decisions.
ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัยเชิงปริมาณ (ผลงานของ ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข)
ชื่องานวิจัย : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้ากระแส โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จังหวัดสุรินทร์.
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้ากระแส โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 38 คน เป็นนักเรียนชาย 12 คน นักเรียนหญิง 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการสอน เรื่อง ไฟฟ้ากระแส โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน จำนวน 11 แผน 22 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนกระบวนการกลุ่ม
วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนกระบวนการกลุ่ม มาหาค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละของคะแนนเต็ม และค่าสถิติ Non- parametric test
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนร้อยละ 71.05 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 51.33 ของคะแนนเต็ม โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
2. นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานอยู่ในระดับดีทุกองค์ประกอบ ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรม ความรับผิดชอบ การมีสัมพันธภาพ และการแสดงความคิดเห็น โดยนักเรียนหญิงจะมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มสูงกว่านักเรียนชาย
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Abstract
The purposes of this research were to develop Learning Achievement and Group-Working Behavior for Physics subject of “Current Electricity” Using Collaborative Learning Model for Mathayomsuksa VI(Grade 12) Students. The sample consisted of 38 grade-12 students in Naraikhumphongwitthaya School during the first semester of 2009 academic year.
The tool used in the study include
(1) The lesson plans on Collaborative Learning model for the Physics Subject of “Current Electricity” which took 22 periods to complete
(2) Collection tool which was consisted of the achievement test and the student learning by group behavior recording form.
The data were analyzed, were collected form achievement test and the student learning by group behavior recording form quizzes and analyzed by mean, standard diviation, percentage and Non- parametric test
The results of the Study were as follow
(1) The majority of the student were able to make a score of 50% and up, while 71.05% of them passed the prescribed critertion. The posttest higher the pretest different intending 0.05
(2) The student have group working Behavior in good level every component, the student women have group working Behavior higher the student men.
ที่มา : การเขียนบทคัดย่อ : ข้อมูลระบุว่าเขียนโดย ดร.จำเริญ จิตรหลัง : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1668
ดี้ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดี
ดี ครับ