สาหร่ายสาย เป็นสาหร่ายทะเลในกลุ่มสีเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Caulerpa racemosa var. corynephora ชื่อวิชาการเรียก สาหร่ายขนนก มักพบตามธรรมชาติบริเวณฝั่งอันดามัน แถบจังหวัดสตูล ตรัง พังงา กระบี่
ลักษณะทั่วไปของสาหร่ายสาย
มีลักษณะทัลลัสเป็นท่อติดต่อกันตลอด ประกอบด้วย ไรซอยด์ (rhizoid) ทําหน้าที่ยึดเกาะคล้ายราก ส่วนที่ทอดแขนงซึ่งมีลักษณะคล้ายไหล เรียกว่า “สโตลอน” (stolon) ส่วนที่ทําหน้าท่ีสังเคราะห์แสง มีลักษณะคล้ายใบ เรียกว่า “รามูลัส” (ramulus) เป็นแท่งกลมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ตรงปลายพองออก เป็นกระเปาะ สีเขียวสด ซึ่งมีรูปร่างเป็นเส้นเหมือนขนนก ขึ้นบนพื้นกรวด ปนทรายและโคลนในคลองบริเวณป่าชายเลน
ในประเทศไทยจะพบสาหร่ายสกุล Caulerpa ขึ้นบนก้อนหินและซาก ปะการังในเขตน้ําขึ้นน้ําลง หรือในคลองสาขาตามป่าชายเลน ตามพื้นโคลน หรือโคลนปนทราย และอาจพบขึ้นตามรากแสม โกงกาง พบได้ในบริเวณน้ํา ทะเลค่อนข้างใส ท้องน้ําท่ีมีทราย น้ําสะอาดและคลื่นลมไม่รุนแรงนัก มักพบ ที่ความลึกประมาณ 2-5 เมตร
สาหร่ายชนิดนี้มีการเจริญเติบโตหนาแน่นในบริเวณท่ีมีปริมาณ สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน (แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท) และธาตุ อาหารอนินทรีย์อื่นๆ สูง และข้ึนอยู่ได้ในช่วงความเค็มค่อนข้างแคบ โดยสามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงความเค็ม 30–40 ppt (ค่าความเค็มของน้ํา วัดเป็นหน่วย ppt (part per thousand) โดยท่ัวไปแหล่งน้ําจืด จะมีปริมาณ เกลือน้อยกว่าร้อยละ 0.1 หรือน้อยกว่า 1 ppt ส่วนแหล่งน้ําเค็มจะมีเกลือ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.5 หรือ 35 ppt) “การพบสาหร่ายขนนกในทะเลสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพน้ําได้” เพราะสาหร่ายชนิดน้ีจะข้ึนในน้ําท่ีสะอาดเท่าน้ัน ถ้าแถบไหนมีบ่อกุ้งมักจะไม่พบสาหร่ายขนนก”
คุณค่าของสาหร่ายสาย
จังหวัดในพื้นที่ทางภาคใต้จะเรียก “สาหร่ายสาย” หรือ “สาหร่ายขนนก” ว่า สาย, ลาโต๊ส หรือลาสาย ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รับประทานเป็นผักจิ้ม สามารถหาซื้อได้ในตลาด พบมากในช่วงฤดูแล้ง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม และจะเร่ิมลดลงเมื่อเข้าหน้าฝน ช่วงเดือน มิถุนายน-ตุลาคม
สาหร่ายสายสามารถบริโภคได้ท้ังแบบสดคล้าย ผัก ใช้ประกอบอาหารหรือแปรรูปก็ได้ เช่น แกงจืด สาหร่าย ยําสาหร่าย ไอศกรีมสาหร่าย คุกกี้สาหร่าย และน้ําสาหร่าย เป็นต้น กล่าวได้ว่า “สาหร่ายสายนั้น มีคุณค่าทางอาหารและยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย”
สรรพคุณที่โดดเด่นของสาหร่ายสาย คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง มีวิตามินที่ร่างกายต้องการ เช่น เอ บี ซี ดี อี และเค มีไอโอดีน, แมกนีเซียมช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทํางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีแคลเซียมบํารุงกระดูก โปตัสเซียมควบคุมการทํางานของ เซลล์และสมดุลของน้ําในร่างกาย แร่เหล็กและทองแดงช่วยในการสร้างเม็ด เลือด สังกะสีช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน อีกทั้งมีกรดอะมิโนหลายชนิดท่ีพืชบกไม่มี มีฤทธ์ิในการรักษาโรคลําไส้อักเสบ รักษาโรคตับอักเสบเพราะช่วยในการ สมานแผล เป็นอาหารท่ีเหมาะกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน และหัวใจ
วิธีการเก็บสาหร่าย
ในช่วงน้ําแห้งใช้มือเจ๊ย (จ้วง) แล้ว ค่อยๆ ช้อนข้ึนมาเพื่อป้องกันไม่ให้สาหร่าย ขาด แต่จะต้องติดรากของสาหร่ายมาด้วย เพื่อเป็นการเก็บรักษาสาหร่ายให้อยู่ได้นาน ที่สุด (ประมาณ 4-5 วัน) ถ้าในช่วงน้ํามาก หรือบริเวณที่น้ําลึก ใช้วิธีการดําน้ำลงไป
ที่มา : [สาหร่ายสาย พืชมหัศจรรย์ สารพันประโยชน์]