การเตรียมตัวสอบเค้าโครง และตอบคำถามในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและศักยภาพของนักศึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ และคุณภาพของเค้าโครงวิทยานิพนธ์  เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาจะสามารถดำเนินงานวิจัยจนได้ผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ โดยก่อนจะทำการขึ้นสอบ นักศึกษาควรจะต้องมีความเข้าใจในเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนเองอย่างถ่องแท้ และต้องเตรียมสื่อประกอบการนำเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้เรียบร้อย เช่น  การจัดทำเนื้อหาด้วยโปรแกรม  power  point หรือวิธีอื่นๆ

นักศึกษาจะต้อง จัดเตรียมห้องสำหรับการสอบ ทำการนัดหมายอาจารย์ผู้สอบ ซึ่งอาจมีประมาณ 3-5 คน จัดส่งเค้าโครงให้กรรมการสอบอ่านล่วงหน้าอย่างน้อย 5-7 วัน โดยในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์นักศึกษาจะมีเวลาในการเสนออย่างจำกัด ต้องสรุปสาระสำคัญให้กระชับตรงตามเวลา กรรมการสอบ ซึ่งได้ศึกษาเค้าโครงของนักศึกษามาแล้ว  ย่อมต้องการเวลาสำหรับซักถามมากกว่าที่จะฟังรายละเอียดจากการนำเสนอ โดยทั่วไปนักศึกษาทุกคนจะได้รับข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเค้าโครงวิทยานิพนธ์ไม่มากก็น้อย (บางกรณีอาจสอบตก  ต้องทำใหม่)  ทั้งนี้หากนักศึกษาแน่ใจว่าสิ่งที่ตนคิดไว้มีเหตุผลและดีพอก็ย่อมที่จะชี้แจงและ “defend”  ได้  เพราะการรับข้อเสนอทุกอย่างไปแล้ว อาจเกิดปัญหาใหม่ภายหลังได้  เมื่อเสร็จสิ้นการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์แล้ว  นักศึกษาต้องรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้เรียบร้อยโดยเร็วและดำเนินการจัดส่งทันเวลาที่กำหนด

ตัวอย่างคำถามในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์
          – Why do you want to do this research ? (ทำไมคุณจึงต้องการทำวิจัยเรื่องนี้?)

          – How did you pick this topic ? (คุณได้หัวข้อนี้มาอย่างไร?)
          – How are you doing with your literature search ? (คุณดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง?)
          – What are you hunches about what your findings may reveal ? (คุณจะจัดการอะไรบ้างกับข้อค้นพบที่อาจจะเกิดขึ้นได้?)
          – What are you reason for choosing this strategy ? (เหตุผลที่คุณเลือกยุทธศาสตร์นี้คืออะไร?)
          – How is your study likely to contribute to out knowledge ? (การศึกษาของคุณจะก่อให้เกิดความรู้ของเราได้อย่างไร?)
          – what other procedures might you consider ? (วิธีการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่คุณจะพิจารณาใช้คืออะไร?)
          – what are the competing theories which are being addressed in your study ? (อะไรคือการให้ทฤษฎีมีความสมบูรณ์ซึ่งจะนำมาศึกษาของคุณ?)
          – What is the basic argument which are addressing in your study ? How well are you addressing this is sue ? (อะไรคือเหตุผลเบื้องต้นในการตั้งหัวข้อวิจัยของคุณ  และคุณตั้งหัวข้อนี้ได้ดีเพียงใด?)
          – What are going to do next and why ? (ต่อนี้ไปคุณจะทำอะไร  และทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น?)
          – What problem are you finding ? How are you handing them ? (ปัญหาที่คุณกำลังเผชิญอยู่คืออะไร คุณจะดำเนินการกับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร?)
          – What criteria will you use in selecting your sample ? (คุณจะใช้เกณฑ์ใดในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง?)
          – What theories (implicitly or explicitly) are contributing to the desing of your study ? (ทฤษฏีอะไร (ทั้งโดยนัย  และที่ปรากฏชัด) ที่ทำให้เกิดแบบวิธีที่คุณศึกษา?)
          – Can you document the history evolution of theory ? (คุณศึกษาเอกสาร และข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทฤษฎีนี้ได้หรือไม่?)
          – What confidence do you have that your analysis is comprehensive ? (คุณมั่นใจหรือว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทฤษฏีนี้ได้หรือไม่?)
          – What confidence do you have that you analysis is comprehensive ? (คุณมั่นใจหรือว่าการวิเคราะห์ข้อมูลที่คุณใช้นั้นมีความครอบคลุมแล้ว?)
          – How will the finding of your study influence our knowledge and/or practice ? (ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะมีอิทธิพลต่อความรู้ และ/หรือการปฏิบัติอย่างไร?)

  ขอให้นักศึกษาทุกคน มีความพร้อมในการเตรียมตัวสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และผ่านการสอบวิทยานิพนธ์ในระดับดีเยี่ยมทุกคนครับ

เอกสารอ้างอิง
          มานี  ไชยธีรานุวัฒศิริ.  (2541). กลยุทธ์ในการทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ. กรุงเทพ : คณะสังคมศาสตร์และมุนษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  สำนักพิมพ์สมาธรรม .
          Brauac  R.S. (2000).  Writing  your  doctoral  Dissertation : Invisble Rules for Success. Falmer Press, London and  New  York.



Leave a Comment