[เที่ยวศรีสะเกษ] เที่ยวผามออีแดง ชมปราสาทพระวิหาร เขาพระวิหาร มรดกร่วมทางประวัติศาสตร์ของไทยกัมพูชา

pra-viharnการเรียนรู้ ไม่ควรถูกจำกัด ไว้เฉพาะในตำรา เนื้อหาและแบบฝึกหัด ในห้องเรียน เท่านั้น เพราะโลกภายนอกห้องเรียน มีเรื่องน่าค้นหาอีกมากมาย การเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น การทัศนศึกษา หรือท่องเที่ยว หรือดูงาน จึงเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี ที่เด็กนักเรียนของเราจะได้นำมาต่อเติมเสริมแต่งเป็นความรู้ที่สมบูรณ์ และและสำหรับบางคน บางครั้ง บางสถานที่ อาจเป็นประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าต่อชีวิตและยากจะลืมเลือน เช่น การขึ้นไปที่ ปราสาทพระวิหาร ของจริง ที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (บทความนี้ เขียนก่อนวันที่ศาลโลกจะตัดสินคดีเขาพระวิหาร ที่ว่าด้วยเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556)
pravihear-1                ปราสาทพระวิหาร ผมไปมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกได้ผ่านเข้าไปจนถึงบันไดปราสาทขั้นที่ 1 ครั้งที่สอง พานักเรียนโรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม 04 จ.สุรินทร์ ไปทัศนศึกษา เมื่อราวปี พ.ศ. 2548 ได้ขึ้นไปชมปราสาททั้งหมด และครั้งที่ 3 พานักเรียนโรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จ.สุรินทร์ ไปชม เมื่อราวปี พ.ศ. 2550 แต่ไทยกับกัมพูชา มีปัญหาข้อพิพาท จึงได้ได้มองตัวปราสาทจากผามออีแดง ฝั่งประเทศไทย
                 ปราสาทพระวิหาร (ทางขึ้นต้องผ่านด่านศรีสะเกษ ซึ่งศาลโลกได้ตัดสินให้ “ตัวปราสาท” อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และกำลังมีกรณีพิพาทพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร)  ประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (มีพระนามจารึกที่โคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ 2 ว่า “สูรยวรรมเทวะ” และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ พ.ศ. 1581 ) และสุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 และ ศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ ในปัจจุบันนี้ปราสาทหลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง แต่ทว่ายังมีอาคารปราสาทเหลืออยู่อีกหลายแห่ง
pravihear-2
                  ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ คั่นอยู่ 5 ชั้น (โคปุระชั้นที่ 5 เป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้
                  ปราสาทพระวิหารมีลักษณะแผนผังที่ใช้แกนเป็นหลัก โดยจัดวางผังหันไปทางทิศเหนือ (แนวเหนือ-ใต้) ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่นๆ ซึ่งตามปกติที่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกจากถูกกำหนดโดยภูมิศาสตร์แล้ว น่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนเขมรสูง(ดินแดนอีสานใต้ของไทย) ตัวปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้งสี่ด้าน การวางผังที่กำหนดตำแหน่งอาคารมีความสมบูรณ์ลงตัวตั้งแต่แรกเริ่มของการก่อสร้าง โดยไม่มีการแก้ไขต่อเติมบริเวณลานชั้นในภายหลัง วัสดุตัวปราสาทสร้างด้วยหินทราย และหินดาน โดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่เลี่ยกันวางซ้อนกันขึ้นไปตามรูปผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว มีส่วนยึดจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น (ภาพที่ 3 นี้ คือ หน้าผา หรือจุดปลายสุดของยอดเขา ที่ตำแหน่งนี้ เราจะมองเห็น ประเทศกัมพูชา (เขมรต่ำ) ได้สุดลูกหูลูกตา)
pravihear-3

                  สำหรับคุณครูที่ต้องการนำนักเรียนเข้าชมช่วงนี้ คงต้องบอกว่า เป็นไปไม่ได้เลยครับ ที่จริงก็เป็นไปไม่ได้มาเกือบสิบปีแล้ว แต่มีสถานที่แห่งหนึ่งที่จะขอแนะนำ คือ ปราสาทพระวิหาร แบบจำลอง ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ผมเคยไปชมมาแล้ว ยอมรับว่า ออกแบบได้สมจริง และสมบูรณ์กว่ามาก  อลังการทั้งความงามและความรู้สึกในคุณค่า คุณครูจะได้ถือโอกาสได้สอนประวัติศาสตร์ เรื่องการเสียอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร และการถูกรุกรานจากฝรั่งเศส ชาติมหาอำนาจที่ทำให้ สยาม ต้องยอมยกดินแดนจำนวนมาก รวมถึงส่งผลต่อกรณีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา มาจนทุกวันนี้

praviharn



ขอบคุณภาพประกอบจาก
: http://www.nathoncity.com/upload/pics/23_175419_93.jpg, เว็บประชาไทย



Leave a Comment