ชื่อโครงงาน : การระบุพิกัดภูมิศาสตร์โลกด้วยเสากำเนิดเงา
ชื่อนักเรียน : นางสาวมณฑิรา โยธินธะ, นายภาคภูมิ ธานีพูน จากโรงเรียนตาเบาวิทยา ต.ตาเบา อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
ครูที่ปรึกษา : นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนทรวง, นายอัครพล ราโช, นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข
บทคัดย่อ
การระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่หรือตำแหน่งใดๆ บนโลก มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่การสร้างแผนที่โลกของ Erathostenes (276-194 ปีก่อนค.ศ.) และ Ptolemy (ค.ศ.90–168) ที่ได้สร้างเส้นแสดงพิกัดที่มีช่วงระยะห่างเท่าๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า “เส้นลองจิจูด” (Longitude) และ “เส้นละติจูด” (Latitude) แม้ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะทำให้การระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ สามารถทำได้อย่างง่ายดาย แต่เสากำเนิดเงาก็สามารถทำให้เราหาพิกัดของโลกได้เช่นกัน
โครงงานนี้ จะใช้เสากำเนิดเงา วัดพิกัดภูมิศาสตร์ของโลก ระหว่างวันที่ 21-30 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงเรียนตาเบาวิทยา จังหวัดสุรินทร์ และเปรียบเทียบค่าพิกัดภูมิศาสตร์ที่ได้กับพิกัดจากภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งพบว่าเมื่อใช้เสากำเนิดเงา วัดค่าลองจิจูด (Longitude) และค่าละติจูด (Latitude) ในแต่ละวัน พบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน และสามารถระบุพิกัดภูมิศาสตร์ของโรงเรียนตาเบาวิทยาจากเสากำเนิดเงาได้ คือ ลองจิจูดที่ 104.43 องศาตะวันออก และละติจูดที่ 15.11 องศาเหนือ เมื่อเปรียบเทียบค่าพิกัดภูมิศาสตร์จากเสากำเนิดเงากับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิง คือ พิกัดจากภาพถ่ายดาวทียมจากเว็บไซต์ http://earth.google.com แล้วพบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน แม้จะมีค่าที่แตกต่างกัน แต่ถือว่าเป็นความแตกต่างที่สามารถยอมรับได้ เพราะการวัดพิกัดภูมิศาสตร์จากเสากำเนิดเงาใช้แสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ไกลมาก
คำสำคัญ: เสากำเนิดเงา, พิกัดภูมิศาสตร์, Gnomon
ดาวน์โหลด Full Paper >> [การระบุพิกัดภูมิศาสตร์โลกด้วยเสากำเนิดเงา]
ดาวน์โหลด Poster Presentation >> [การระบุพิกัดภูมิศาสตร์โลกด้วยเสากำเนิดเงา]